บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ประกอบการเรียนในรายวิชาอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน และขอขอบคุณผู้ที่เข้ามาร่วมชมบล็อกทุกท่านค่ะ

วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ประโยชน์ของสมอไทย

 สมอไทย



ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Terminalia chebula  Retz. var. chebula

ชื่อสามัญ :   Myrabolan Wood

วงศ์ :   COMBRETACEAE

ชื่ออื่น :  มาแน่ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่) สมออัพยา (ภาคกลาง) หมากแน่ะ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 20-35 เมตร เปลือกต้นขรุขระ ใบ เดี่ยว เรียงตรงข้ามหรืเกือบตรงข้าม รูปวงรี กว้าง 6-10 ซม. ยาว 8-15 ซม. ดอก ช่อ ออกที่ซอกใบหรือปลายยอด เป็นดอกสมบูรณ์เพศ กลีบสีเหลือง ผลเป็นผลสด รูปวงรี มีสัน 5 สัน
ส่วนที่ใช้ :  ผลอ่อน  ผลแก่  ผล  ใบ

สรรพคุณ :

    ผลอ่อน  -  มีฤทธิ์เป็นยาระบาย ถ่ายเสมหะ ลดไข้ ขับลมในลำไส้

    ผลแก่ -  มีฤทธิ์เป็นยาฝาดสมาน แก้ท้องเดิน

    ผล -  ใช้ในอุตสาหกรรมฟอกหนัง มี Tannin มาก ใช้ทำหมึก
    ใบ -  เป็นยาสมานแผล เป็นยาบำรุงถุงน้ำดี

วิธีและปริมาณที่ใช้ : ใช้ผลอ่อน 5-6 ผล หรือ 30 กรัม ต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว ใส่เกลือเล็กน้อย รับประทานครั้งเดียว จะถ่ายหลังให้ยาประมาณ 2 ชั่วโมง


ที่มา  http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_05_11.htm

สรรพคุณของฉัตรทอง

ฉัตรทอง


ชื่ออื่น ๆ : จวกขุ่ยฮวย (จีน-แต้จิ๋ว)

ชื่อสามัญ : Hollyhock

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Althaea rosea Cav.

วงศ์ : MALVACEAE

ลักษณะทั่วไป :

ต้น : เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก มีลำต้นตั้งตรง ตามลำต้นจะมีขนอ่อนปกคลุมอยู่ ลำต้นมีสีเขียวสูงประมาณ 2.5 เมตร

ใบ : ออกใบเดี่ยว สลับกันไปตามลำต้น ใบมีสีเขียวลักษณะของใบคล้ายรูปดาว แต่ตรงโคนใบจะเว้าแบบรูปหัวใจ ขนาดของใบกว้างประมาณ 2-4 นิ้วยาว 2.5-4 นิ้ว มีก้านใบกลม สีเขียวยาวประมาณ 1.5-3.5 นิ้ว

ดอก : ออกดอกเดี่ยว อยู่ตามง่ามใบ ลักษณะของดอกเป็นรูปถ้วย มีกลีบดอกอยู่ 5 กลีบเรียงซ้อน ๆ กันมีสีชมพู สีแดง และสีขาว เกสรกลางดอกเป็นสีเหลือง มีกลีบเลี้ยงสีเขียวเป็นรูปถ้วยเช่นกัน โคนกลีบเลี้ยงจะเชื่อมติดกัน แต่ส่วนปลายกลีบเลี้ยงนั้นแยกออกเป็น 5 กลีบ

ผล : ลักษณะของผลกลมและแบน ภายในผลจะมีเมล็ดเป็นรูปไตอยู่จำนวนมาก ผลโตประมาณ 1-1.5 นิ้ว
การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ชอบแสงแดดจัดทั้งวัน และเจริญได้ดีในดินที่ร่วนซุย ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด

ส่วนที่ใช้ : ยอดอ่อน ใบ ดอก ราก และเมล็ด

สรรพคุณ : ยอดอ่อนและใบ ถ้าเป็นแผลฝีหนอง หนองใน แผลอักเสบให้นำยอดอ่อนหรือใบมาต้มกับน้ำกิน จะใช้ใบสดหรือแห้งก็ได้ หรือเผาให้เป็นเถาแล้วนำมาบดกินเป็นผงก็ได้ จะใช้อยู่ประมาณ 6-20 กรัมดอก ใช้เป็นยาแก้ไข้ แก้บิด อาเจียนเป็นเลือด ขับปัสสาวะอุจจาระ ตกเลือด ตกขาว พอกแผลบวม และแก้โรคหัดให้เก็บดอกที่บานเต็มที่แล้วจะใช้สด หรือแห้งก็ได้ โดยการนำมาต้มกินหรือบดเป็นผงกิน แต่ถ้าแผลบวมให้นำมาตำหรือบดเป็นผงทา หรือพอกบริเวณนั้นราก ใช้เป็นยาดูดหนอง แก้หนองใน อาเจียนเป็นเลือดแผลบวม แผลในลำไส้ แผลไฟลวก ตกเลือด ตกขาว ขับปัสสาวะ หรือปัสสาวะมีเลือด ให้นำรากสด ๆ ประมาณ 30-60 กรัมถ้าใช้ทาภายนอกก็ตำแล้วพอก
แต่ถ้ากินก็เอาต้มกับน้ำหรือทำเป็นเม็ด หรือบดเป็นผงกินก็ได้ เมล็ด ใช้ทำเป็นยาแก้โรคหนองใน หล่อลื่นลำไส้ แผลหิด ท้องผูก ขับปัสสาวะ โดยการนำเมล็ดมาต้มกิน
หรือบดเป็นผงกิน เมล็ดนี้จะต้องเอามากผลที่แก่แล้วแกะเอาเมล็ดมาตากแห้งเสียก่อน

ข้อห้ามใช้ : สตรีที่กำลังตั้งครรภ์ห้ามรับประทาน

ตำรับยา : 1. บิด ถ่ายเป็นเลือด นำยอดที่อ่อนมาต้มกินกับน้ำ โดยใช้ปิ้งกับไฟพอเหลืองใช้ ประมาณ 6-18 กรัม

2. ปัสสาวะเป็นเลือด นำเถาจากยอดอ่อนมาผสมกับเหล้ารับประทาน แต่ต้องกินทีละน้อย ๆ และวันละ 2 ครั้ง

3. เด็กที่ปากเป็นแผลอักเสบ ใช้ยอดอ่อนผสมกับน้ำผึ้งทาเช้า เย็น โดยการนำไปปิ้งไฟให้แห้งแล้วบดให้เป็นผงเสียก่อน

4. บวมน้ำ เป็นนิ่ว นำเมล็ดที่แก่และตากแห้งไว้แล้วบดเป็นผงผสมน้ำอุ่นรับประทานวันละ
2 ครั้ง โดยใช้รับประทานครั้งละ 6 กรัม เด็กที่มีอาการท้องผูกก็ทาได้แต่ต้องใช้ประมาณ 3-10 กรัม

5. แผลบวมอักเสบ ให้ใช้รากสด ๆ นำมาตำพอก แต่ถ้าท้องผูกให้ใช้ผสมกับเมล็ดของตังเกี้ยงไฉ่ ใช้อย่างละ 30 กรัมต้นผสมกับน้ำรับประทาน

6. แผลในลำไส้ นำรากแห้งประมาณ 3 กรัม มาต้มกับน้ำรับประทาน

7. อาเจียนเป็นเลือด หรือตกเลือด ให้นำรากสด 30 กรัม ต้มน้ำรับประทาน หรือคั้นเอาน้ำของรากผสมเหล้ารับประทานก็ได้ แต่ต้องใช้ 60 กรัม

8. ปัสสาวะมากผิดปกติ นำรากสดมาแล้วล้างให้สะอาดทุบให้แตกใส่น้ำต้มให้เดือดจนเข้มข้น แล้วรินน้ำรับประทาน

9. ใบหน้าเป็นฝ้าหรือมีรอยย่น ใช้ดอกสดบดให้ละเอียดผสมรังผึ้งสดทาก่อนนอนทุกคืน

10. แผลน้ำร้อนลวก หรือแผลไฟลวก ให้ใช้ดอกสดผสมน้ำมันพืชพอกบริเวณนั้น แต่ต้องตำดอกให้ละเอียดก่อน

11. ตกขาว ให้ใช้ดอกสดประมาณ 150 กรัม ผึ่งให้แห้งในที่ร่มแล้วนำมาบดเป็นผงผสมกับน้ำผึ้งทาน แต่ก่อนทานต้องดื่มเหล้าก่อน 1 ถ้วยชา

12. ปัสสาวะขัด และท้องผูก ให้ใช้ดอกสดประมาณ 30 กรัมผสมชะมดเชียง 1.5 กรัมกับน้ำอีกหนึ่งแก้วต้มรับประทาน

13. มีไข้ ใช้ดอกสดผึ่งให้แห้ง แล้วบดเป็นผงผสมน้ำรับประทาน ข้อมูลทางเภสัชวิทยา : รากของต้นนั้นมีสารเมือกอยู่เป็นจำนวนมาก ถ้าอายุ 1 ปีสารเมือกนี้จะประกอบด้วย น้ำตาล pentose 7.78%, uronic acid 20.04%, pentosans 6.86%, methylpentosana 10.59%,
ซึ่งสารเมือกนี้จะใช้เป็นยาช่วยลดอาการระคายเคือง เป็นยาหล่อลื่น ใช้พอกแก้ผิวหนังอักเสบ และยังมีสารที่พบอยู่ในเมล็ดด้วยคือ น้ำมัน 11.9% ซึ่งประกอบด้วย oleic acid 34.88%, ดอกมีผลึกเป็นสารสีเหลือง มีจุดหลอมเหลวที่ 261ฐC ซึ่งสารนี้อาจเป็น dibenzoyl carbinol
จะเป็นสารผสมของ kaempferol ดอกที่เป็นสีขาวแยกได้ dihydrokaempferol

หมายเหตุ : ดอกนอกจากจะเป็นยาแก้ไข้จับสั่น ปัสสาวะเป็นเลือด ช่วยการไหลเวียนเลือดดีขึ้น ทำให้ชุ่มชื่น และช่วยหล่อลื่นแล้วยังเป็นสารสีแดง ที่ใช้เป็นตชะเอมเทศ ความกรดด่างได้อีกด้วย รากและเมล็ดใช้เป็นยาบำรุงธาตุ แก้ไข้ ลดไข้ ช่วยในการคลอดบุตร และตำพอกแผลเรื้อรัง


ที่มา  http://www.samunpri.com/herbs/?p=320

ประโยชน์จากต้นคูณ

 คูณ


ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Cassia fistula  L.

ชื่อสามัญ :    Golden shower, Indian laburnum, Pudding - pine tree

วงศ์ :   LEGUMINOSAE - CAESALPINIOIDEAE

ชื่ออื่น :   กุเพยะ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) ชัยพฤกษ์ ราชพฤกษ์ (ภาคกลาง) ปือยู ปูโย เปอโซ แมะหล่าหยู่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ลมแล้ง (เหนือ)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้ต้นขนาดกลาง ลำต้นสีน้ำตาลแกมเทาเกลี้ยงๆ ชอบขึ้นตามป่าผลัดใบ หรือในที่ดินที่มีการถ่ายเทน้ำได้ดี ใบ เป็นใบช่อสีเขียวเป็นมัน ช่อหนึ่งๆ ยาวประมาณ 2.5 ซม. มีใบย่อยรูปป้อมๆ หรือรูปไข่ 3-6 คู่ ใบย่อยกว้างๆ 5-7 ซม. ยาว 9-15 ซม. โคนใบมนและค่อยๆ สอบไปทางปลายใบ เนื้อใบเกลี้ยงค่อนข้างบาง เส้นแขนงใบถี่ และโค้งไปตามรูปใบ ดอก ออกเป็นช่อ ยาว 20-45 ซม. กลีบรองกลีบดอกรูปขอบขนานยาวประมาณ 1 ซม. มี 5 กลีบ มักหลุดร่วงง่าย กลีบดอกยาวกว่ากลีบรองกลีบดอกประมาณ 2-3 เท่า และมีกลีบรูปไข่กลับ 5 กลีบ ตามพื้นกลีบจะเห็นเส้นกลีบชัดเจน เกสรผู้มีขนาดแตกต่างกันจำนวน 10 อัน ก้านอับเรณูโค้งงอขึ้น ผล เป็นฝักรูปทรงกระบอกเกลี้ยงๆ อาจยาวถึง 50 ซม. โตวัดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.0-2.5 ซม. ฝัก อ่อนสีเขียวและออกสีดำเมื่อแก่จัด ในฝักจะมีผนังเยื่อบางๆ กั้นเป็นช่องๆ ตามขวางของฝัก และตามช่องเหล่านี้จะมีเมล็ดแบนๆ สีน้ำตาลอยู่
ส่วนที่ใช้ : ใบ ดอก เปลือก แก่น ราก ฝักแก่ เปลือกเป็นสีน้ำตาลเข้ม กระพี้ เมล็ด
สรรพคุณ :

    ใบ  -   ขับพยาธิ

    ดอก - แก้บาดแผลเรื้อรัง

    เปลือก  -  บำรุงโลหิต

    กระพี้ -  แก้โรครำมะนาด

    แก่น -  ขับไส้เดือนในท้อง

    ราก -  แก้ไข้ แก้โรคคุดทะราด

    เมล็ด - รักษาโรคบิด

    ฝักแก่ - รสหวานเอียนเล็กน้อย เป็นยาระบายถ่ายสะดวกไม่มวนไม่ไซ้ท้อง มีสารแอนทราควิโนน (Anthraquinone glycoside) เป็นตัวยาระบาย

วิธีและปริมาณที่ใช้ : โดยเอาเนื้อในฝักแก่ก้อนเท่าหัวแม่มือ (ประมาณ 4 กรัม) น้ำ 1 ถ้วยแก้วต้มกับน้ำใส่เกลือเล็กน้อย ดื่มก่อนนอนหรือตอนก่อนอาหารเช้าครั้งเดียว
          เหมาะเป็นยาระบายสำหรับคนที่ท้องผูกเป็นประจำและสตรีมีครรภ์


ที่มา  http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_05_1.htm

ประโยชน์ของมะหาดและมะเกลือ

มะหาด


 ชื่อวิทยาศาสตร์ : Artocarpus  lakoocha  Roxb.

วงศ์ :   Moraceae

ชื่ออื่น :  กาแย  ขนุนป่า  ตาแป  ตาแปง  มะหาดใบใหญ่  หาดหนุน  หาด

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 15-25 เมตร ลำต้นตั้งตรง ผิวเปลือกนอกค่อนข้างขรุขระสีน้ำตาลดำ หรือสีเทาแกมน้ำตาล บริเวณเปลือกของลำต้นมักมีรอยแตก และยางไหลซึมออกมาติดต้น ใบ เดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ หรือรูปยาวรี ปลายแหลม โคนเว้ามน กว้าง 5-12 เซนติเมตร ยาว 8-15 เซนติเมตร ใบอ่อนมีขน ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อยเล็กๆ ใบแก่ขอบมักเรียบ หูใบเรียวแหลม ดอก ช่อกลมเล็กๆ สีเขียวอมเหลือง ขนาดเล็ก ออกตามง่ามใบ ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่คนละช่อ  แต่อยู่บนต้นเดียวกัน ดอกตัวเมียกลีบค่อนข้างกลมมน โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอด ดอกตัวผู้กลีบเป็นรูปขอบขนานปลายกลีบหยัก ยาว 0.5-1 เซนติเมตร ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์ เมษายน ผล เป็นผลรวม กลมแป้นใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลาง 6-8 เซนติเมตร เปลือกนอกผิวขรุขระ เนื้อผลค่อนข้างนุ่ม สีเขียว เมื่อแก่สีน้ำตาลเหลือง เมล็ด แต่ละผลมี 1 เมล็ด  รูปรี ติดผลเดือนมีนาคม - พฤษภาคม
ส่วนที่ใช้ :  แก่นต้นมะหาด อายุ 5 ปีขึ้นไป  ราก เปลือก

สรรพคุณ :

    แก่น -  ให้ปวกหาด ใช้เป็
    แก่นเนื้อไม้ -  แก้ขุกแน่น แก้ท้องขึ้นอืดเฟ้อ ขับลม ผายลม แก้ผื่นคัน แก้ตานขโมย เป็นยาระบาย ถ่ายพยาธิไส้เดือนตัวกลม ถ่ายพยาธิเส้นด้าย ถ่ายพยาธิตัวตืด ขับเลือด แก้ลม ถ่ายพยาธิตัวแบน แก้กระษัย แก้เส้นเอ็นพิการ แก้ท้องผูกไม่ถ่าย

    แก่น -  แก้โรคกระษัยไตพิการ แก้กระษัยดาน แก้กระษัยเสียด แก้กระษัยกล่อน แก้กระษัยลมพานไส้ แก้กระษัยทำให้ท้องผูก  แก้ดวงจิตขุ่นมัว ระส่ำระสาย แก้นอนไม่หลับ แก้เบื่ออาหาร แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ปัสสาวะกระปริบกระปรอย ถ่ายพยาธิ  พยาธิตัวตืด แก้ท้องโรพุงโต แก้จุกผามม้ามย้อย แก้ฝีในท้อง แก้ปวด แก้เคือง กระจายโลหิต

    ราก -  แก้ไข้ แก้กระษัยเส้นเอ็น ขับพยาธิ แก้ไข้เพื่อฝีภายใน แก้พิษร้อน

    เปลือก - แก้ไข้

วิธีและปริมาณที่ใช้ :

    ผงปวกหาด  เตรียมได้โดยการเอา แก่นมะหาดมาต้มเคี่ยวด้วยน้ำไปนานจนเกิดฟองขึ้น แล้วช้อนฟองขึ้นมาตากแห้ง จะได้ผงสีเหลือง นำมาบดให้เป็นผงละเอียด ขนาดรับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนชา (ประมาณ 3-5 กรัม) รับประทานกับน้ำสุกเย็น ก่อนอาหารเช้า หลังจากรับประทานยาปวกหาดแล้วประมาณ 2 ชั่วโมง ให้รับประทานดีเกลือ หรือยาถ่ายตาม เพื่อระบายท้อง จะถ่ายพยาธิตัวตืดและพยาธิไส้เดือนออกหมด

    สำหรับผู้ถ่ายพยาธิตัวตืด
    ใช้ผงมะหาด 1 ช้อนโต๊ะ ละลายในน้ำมะนาว 2 ช้อนโต๊ะ รับประทานครั้งเดียว อีก 2 ชั่วโมงต่อมาให้รับประทานยาถ่ายตาม

    สำหรับเด็ก ใช้ยาครึ่งช้อนโต๊ะ ละลายในน้ำมะนาว 1 ช้อนโต๊ะ รับประทานครั้งเดียว อีก 2 ชั่วโมงต่อมาจึงรบประทานยาถ่ายตาม

อาการข้างเคียง
          ผู้ป่วยบางราย มีอาการแพ้ มีผื่นคันขึ้นทั้งตัว หน้าแดง ผิวหนังแดง คัน ตาแดง มีไข้ อาการจะหายไปภายใน 1-2 วัน
ข้อควรระวัง :  ห้ามรับประทานผงปวกหาดกับน้ำร้อน จะทำให้คลื่นไส้อาเจียนได้
สารเคมี : ที่พบในมะหาด

    เปลือกราก
    -  มี 5, 7 Dihydroxy flavone - 3 - 0 - - L - rhamnoside
    -  Galangin - 3 - beta - D - galactosyl - (1-4) - alfa - L - rhamnoside
    -  Lupeol
    - Quercetin - 3 - O - beta - L - rhamnopy ranoside
    -  beta - Sitosterol

    ทั้งต้น -  มี  2,  3,  4,  5  - Tetrahydroxystibene

    ต้น  - มี   5 - Hydroxy - 2 ,4,7 - trimethoxy flsvone
          -  2, 3, 4, 5, - Tetrahydroxystibene

    เปลือกต้น - มี Tannin , Amyrin acetate, Lupeol acetate

นอกจากนี้ยังพบสารเคมี โดยไม่ระบุว่าพบในส่วนใดคือ 2 , 3 ,4 , 5 - Tetrahydroxystibene


 มะเกลือ


ชื่อวิทยาศาสตร์ :    Diospyros mollis Griff.

ชื่อสามัญ :   Ebony tree

วงศ์ :   Ebenaceae

ชื่ออื่น :  ผีเผา (ฉาน-ภาคเหนือ) มักเกลือ (เขมร-ตราด)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10-30 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ลำต้นเปลา โคนต้นมักเป็นพูพอน ผิวเปลือกเป็นรอยแตกสะเก็ดเล็กๆ สีดำ เปลือกในสีเหลือง กระพี้สีขาว กิ่งอ่อนมีขนนุ่มขึ้นประปราย ใบ เป็นใบเดี่ยวขนาดเล็กรูปไข่หรือรีเรียงตัวแบบสลับ ปลายใบสอบเข้าหากัน โคนใบกลม หรือมน ผิวใบเกลี้ยง ใบกว้าง 3.5-4.0 ซม. ยาว 9-10 ซม. ใบที่ยังอ่อนจะมีขนปกคลุมทั้งสองด้าน ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกแยกเพศต่างต้น ดอกตัวผู้มีขนาดเล็ก สีเหลืองอ่อน หนึ่งช่อมี 3 ดอก ดอกตัวเมียเป็นดอกเดี่ยว ลักษณะดอกเหมือนกัน คือ กลีบรองดอกยาว 0.1-0.2 ซม. โครกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายกลีบดอกแยกเป็น 4 กลีบ สีเหลืองเรียนเวียนซ้อนทับกัน ตรงกลางดอกมีเกสร ผล กลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 ซม. ผิวเกลี้ยง ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีดำ ผลแก่จัดจะแห้ง มีกลีบเลี้ยงติดบนผล 4 กลีบ ผลแก่ราวเดือนมิถุนายน-สิงหาคม เมล็ด แบน สีเหลือง 4-5 เมล็ด ขนาดกว้าง 0.5-0.7 ซม. ยาว 1-2 ซม. ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
ส่วนที่ใช้ :  ราก, ผลมะเกลือสด โตเต็มที่และสีเขียวจัด (ห้ามใช้ผลสุกสีเหลืองหรือผลสีดำ)

สรรพคุณ :
    ราก  -  ฝนกับน้ำซาวข้าว รับประทานแก้อาเจียน แก้ลม

    ผลมะเกลือสดและเขียวจัด - เป็นสมุนไพรยอดเยี่ยมที่สุดในการถ่ายพยาธิ กำจัดตัวตืด หรือไส้เดือนตัวกลม พยาธิปากขอ พยาธิเข็มหมุด

วิธีและปริมาณที่ใช้
          ผลสดโตเต็มที่และเขียวจัด จำนวนผลเท่าอายุแต่ไม่เกิน 25 ผล (คนไข้อายุ 40 ปี ใช้เพียง 25 ผล) ตำใส่กะทิ คั้นเอาแต่น้ำกะทิ ช่วยกลบรสเฝื่อน ควรรับประทานขณะท้องว่าง ถ้า 3 ชั่วโมงแล้วยังไม่ถ่ายใช้ยาระบาย เช่น ดีเกลือ 2 ช้อนโต๊ะ ละลายน้ำดื่มตามลงไป
สารเคมี - สารกลุ่มพีนอล ชื่อ diospyrol ซึ่งถูก oxidize ง่าย
ข้อควรระวัง

    ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำว่า 10 ขวบ หญิงตั้งครรภ์ หรือหลังคลอดใหม่ๆ และผู้ป่วยในโรคอื่นๆ

    ระวังอย่าให้เกินขนาด

    ถ้าเกิดอาการท้องเดินหลายๆ ครั้ง และมีอาการตามัวให้รีบพาไปพบแพทย์ด่วน
 ที่มา  http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_04_5.htm

ประโยชน์ของมะเฟื่องและมะขาม

มะเฟื่อง

 ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Averrhoa carambola  L.

ชื่อสามัญ :   Star fruit

วงศ์ :   Averrhoaceae

ชื่ออื่น :  เฟือง (ภาคใต้)  สะบือ (เขมร)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 3-10 เมตร แตกกิ่งก้านสขามาก ใบ เป็นใบประกอบขนาดคล้ายใบมะยม สีเขียวเป็นมัน เรียงเป็นคู่ตรงข้าม ดอก เป็นช่อเล็กออกตามง่ามใบ สีม่วง ขาว ชมพู ผล เดี่ยว เป็นกลีบ หน้าตัด รูปดาว 5 แฉก สีเขียวอ่อน สุกสีเหลือง ฉ่ำน้ำ เมล็ด มีขนาดเล็ก
ส่วนที่ใช้ :  ดอก ใบ ผล ราก

สรรพคุณ :
    ดอก -  ขับพยาธิ

    ใบ, ผล  -  ทำยาต้ม ทำให้หยุดอาเจียน

    ผล
    - มี oxalic ทำให้เลือดจับเป็นก้อน
    - ระบาย
    - แก้เลือดออกตามไรฟัน
    - แก้บิด ขับน้ำลาย ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว
    - ลดอาการอักเสบ

    ใบและราก - เป็นยาเย็น เป็นยาดับพิษร้อน แก้ไข้ ถอนพิษไข้







มะขาม


ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Tamarindus indica  L.

ชื่อสามัญ :   Tamarind

วงศ์ :    Leguminosae - Caesalpinioideae

ชื่ออื่น :  ขาม (ภาคใต้) ตะลูบ(ชาวบน-นครราชสีมา) ม่องโคล้ง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) อำเปียล (เขมร-สุรินทร์) หมากแกง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) ส่ามอเกล (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: ไม้ต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่แตกกิ่งก้านสาขามาก เปลือกต้นขรุขระและหนา สีน้ำตาลอ่อน ใบ เป็นใบประกอบ ใบเล็กออกตามกิ่งก้านใบเป็นคู่ ใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบและโคนใบมน ดอก ออกเป็นช่อเล็กๆ ตามปลายกิ่ง หนึ่งช่อมี 10-15 ดอก ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีเหลืองและมีจุดประสีแดงอยู่กลางดอก ผล เป็นฝักยาว รูปร่างยาวหรือโค้ง ยาว 3-20 ซม. ฝักอ่อนมีเปลือกสีเขียวอมเทา สีน้ำตาลเกรียม เนื้อในติดกับเปลือก เมื่อแก่ฝักเปลี่ยนเป็นเปลือกแข็งกรอบหักง่าย สีน้ำตาล เนื้อในกลายเป็นสีน้ำตาลหุ้มเมล็ด เนื้อมีรสเปรี้ยว และหวาน
ส่วนที่ใช้ :

    เมล็ดในที่กะเทาะเปลือกออกแล้ว (ต้องคั่วก่อน จึงกะเทาะเปลือกออก)

    เนื้อหุ้มเมล็ด

สรรพคุณ :

    เมล็ด  -   สำหรับการถ่ายพยาธิตัวกลม พยาธิเส้นด้าย

    ใบ -  ขับเสมหะ

    แก่น  -  ขับโลหิต

    เนื้อ -  เป็นยาระบาย ขับเสมหะ แก้ไอ

วิธีและปริมาณที่ใช้ :

    ถ่ายพยาธิ
    ใช้เมล็ดในที่มีสีขาว 20-25 เมล็ดต้มกับน้ำใส่เกลือเล็กน้อย รับประทานเนื้อทั้งหมด 1 ครั้ง หรือคั่วให้เนื้อในเหลือง กะเทาะเปลือก แช่น้ำให้นิ่ม เคี้ยวรับประทานเช่นถั่ว

    แก้ท้องผูก
    ใช้เนื้อหุ้มเมล็ดคลุกเกลือรับประทาน ระบายท้อง

    แก้ไอ, ขับเสมหะ
    ใช้เนื้อในฝักแก่หรือมะขามเปียก จิ้มเกลือรับประทาน

สารเคมี :
          - เนื้อในหุ้มเปลือก มี tartaric acid 8-18%  invert sugar 30-40%
          - เมล็ด  มี albuminold  14-20% carbohydrate 59-65%  semi-drying fixed oil 3.9-20%  mucilaginous materal 60%


 ที่มา  http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_04_4.htm   
 

ปรนะโยชน์ของแก้ว

 ดอกแก้ว



ชื่อวิทยาศาสตร์ :    Murraya paniculata  (L.) Jack.

ชื่อสามัญ :   Andaman satin wood, Chinese box tree, Orange jasmine

วงศ์ :    RUTACEAE

ชื่ออื่น :  กะมูนิง (มลายู-ปัตตานี) แก้วขาว (ภาคกลาง) แก้วขี้ไก่ (ยะลา) แก้วพริก ตะไหลแก้ว (ภาคเหนือ) แก้วลาย (สระบุรี) จ๊าพริก (ลำปาง)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 10 เมตร ไม่ผลัดใบ ใบ เป็นใบประกอบ ผิวใบมันเข้ม และเป็นมันทั้งสองด้าน ดอก ช่อ ออกเป็นกระจุก สีขาว ร่วงง่าย มีกลิ่นหอมมาก ผล สดกลมรี หรือรูปไข่ ปลายสอบเล็กน้อย ที่เปลือกมีต่อมน้ำมันเห็นได้ชัด กว้าง 5-8 มม. ยาว 0.8-1 ซม. ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีส้มแดง เมล็ดรูปไข่ปลายสอบ มีขนสั้นๆ อยู่รอบเมล็ด กว้าง 4-6 มม. ยาว 6-9 มม. สีขาวขุ่น มีจำนวน 1-2 เมล็ดต่อผล
ส่วนที่ใช้ :

    ก้านและใบ - เก็บได้ตลอดปี ใช้สดหรือตากแห้งเก็บไว้ใช้

    ราก - เก็บในฤดูหนาว เอาดินออกล้างให้สะอาด หั่นเป็นแผ่น ตากแห้งเก็บไว้ใช้
    ใบ ดอก และผลสุก

สรรพคุณ :

    ก้านและใบ  - รสเผ็ด สุขุม ขม ใช้เป็นยาชาระงับปวด แก้ผื่นคันที่เกิดจากชื้น แก้แผลเจ็บปวดเกิดจากการกระทบกระแทก ต้มอมบ้วนปาก แก้ปวดฟัน

    ราก -  รสเผ็ด ขม สุขุม ใช้แก้ปวดเอว แก้ผื่นคันที่เกิดจากชื้น และที่เกิดจากแมลงกัดต่อย

    ใบ -  ขับพยาธิตัวตืด แก้บิด แก้ท้องเสีย

    ราก, ใบ - เป็นยาขับประจำเดือน

    ดอก, ใบ -  ช่วยย่อย แก้ไขข้ออักเสบ แก้ไอ เวียนศีรษะ

    ผลสุก -  รับประทานเป็นอาหารได้

วิธีใช้และปริมาณที่ใช้

    ใช้ภายใน รับประทานขับพยาธิตัวตืด แก้บิด แก้ท้องเสีย
    - ใช้ก้านและใบสด 10-15 กรัม ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 ถ้วยแก้ว รับประทานวันละ 2 ครั้ง หลังอาหารเช้า-เย็น
    -  หรือใช้ดองเหล้า ดื่มแต่เหล้า ครั้งละ 1 ถ้วยตะไล ใช้เป็นยาขับประจำเดือน
    -  ใช้รากแห้ง 10-15 กรัม (สด 30-60 กรัม) ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 ถ้วยแก้ว รับประทานวันละ 2 ครั้ง หลังอาหารเช้า-เย็น

    ใช้ภายนอก
    -  ใช้ก้านและใบสด ตำพอก หรือคั้นเอาน้ำทาบริเวณที่เป็น
    -  ใช้ใบแห้งบดเป็นผงใส่บาดแผล
    -  รากแห้งหรือสด ตำพอก หรือต้มเอาน้ำชะล้างบริเวณที่เป็น
    -  ใบและก้านสด สกัดด้วยแอลกอฮอล์ 50 % ใช้เป็นยาชาเฉพาะที่

สารเคมี
          ใบ  เมื่อกลั่นด้วยไอน้ำให้น้ำมันหอมระเหยสีเข้ม 0.01%  กลิ่นน้ำมันหอมระเหยจากใบประกอบด้วย :
          1 - Cadinene (sesquiterpene) 32.5%   bisaboline 18%  betacaryophyllene 14%  carene 3.5%
          5 - quaiazulene 1.2%  methyl anthrailate 1.5%  euhenol 5%  citronellol 4.5%  geranoil 9.1%   methylsalicylate 3.5%


 ที่มา  http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_04.htm

ประโยชน์ของทับทิม

 ทับทิม





ชื่ออื่น ๆ : มะเก๊าะ (ภาคเหนือ), มะก่องแก้ว พิลาขาว (น่าน), หมากจัง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), พิลา (หนองคาย), เจียะลิ้ว (จีน)

ชื่อสามัญ : Punic Apple, Pomegranate, Granades, Granats, Carthaginian Apple

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Punica granatum Linn.

วงศ์ : PUNICACEAE
ลักษณะทั่วไป :
ต้น : เป็นพรรณไม้ยืนต้น หรือพรรณไม้พุ่มขนาดกลาง ลักษณะผิวเปลือกลำต้นเป็นสีเทา ส่วนที่เป็นกิ่งหรือยอดอ่อนจะเป็นเหลี่ยม หรือมีหนามแหลมยาวขึ้น

ใบ : ใบมีลักษณะเป็นรูปยาวรี โคนใบมนแคบ ส่วนปลายใบเรียวแหลมสั้น ผิวหลังใบเกลี้ยงเป็นมัน ใต้ท้องใบจะเห็นเส้นใบได้ชัด ขนาดของใบกว้างประมาณ 1-1.8 ซม. ยาวประมาณ 2.5-6 ซม.

ดอก : ดอกออกเป็นช่อ หรืออาจจะเป็นดอกเดียว ในบริเวณปลายยอด หรือง่ามกิ่ง ลักษณะของดอกมีเป็น สีส้ม สีขาว หรือสีแดง ดอกหนึ่งมีกลีบดอกประมาณ 6 กลีบ ปลายกลีบดอกจะแยกออกจากกัน ตรงกลางดอกมีเกสรตัวเมีย และตัวผู้ซึ่งมีอับเรณูเป็นสีเหลือง ขนาดของดอกบานเต็มที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2-3 ซม.

ผล : ผลมีลักษณะเป็นรูปค่อนข้างกลม ผิวเปลือกนอกหนาเกลี้ยง ผลเมื่อแก่หรือสุกเต็มที่มีสีเหลืองปนแดง และลักษณะของผลจะแตก หรืออ้างออก ข้างในผลก็จะมีเมล็ดเป็นจำนวนมาก เป็นรูปเหลี่ยม มีสีชมพูสด

การขยายพันธุ์ : ทับทิม เป็นพรรณไม้ที่เจริญเติบโตได้ดีในดินปนทรายหรือดินที่มีกรวด มีการขยาย พันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง หรือการใช้เมล็ด

ส่วนที่ใช้ : เปลือกลำต้น ใบ ดอก เปลือกผล เมล็ด และเปลือกราก

สรรพคุณ :
เปลือกลำต้น ในเปลือกของลำต้นจะมีอัลกาลอยด์ประมาณ 0.35-0.6% และอัลกา

ลอยด์ในเปลือกของลำต้นนี้มีชื่อเรียกว่า Pelletierine และ Isopelletierine ซึ่งใช้เป็นยา ถ่ายพยาธิได้ผลดี

ใบ ใช้ใบสดนำมาต้ม กรองเอาน้ำใช้ล้างแผลเนื่องจากมีหนองเรื้อรังบนหัว หรือใช้ใบสดนำมาตำให้ละเอียดแล้วเอาไปพอกในบริเวณที่เป็นแผลถลอก เนื่องจากหกล้มได้ เป็นต้น

ดอก ใช้ดอกที่แห้งประมาณ 3-6 กรัม นำมาต้มกรองเอาน้ำดื่ม เป็นยาแก้ให้เลือดกำเดา แข็งตัว และแก้หูชั้นในอักเสบ หรือใช้ดอกแห้งนำมาบดให้ละเอียดแล้วใช้ทา หรือโรยบริเวณบาดแผลที่มีเลือดออก เปลือกผล ใช้เปลือกผลที่แห้งแล้วประมาณ 2.5-4.5 กรัม นำมาบดให้ละเอียด หรือนำ มาต้มกินน้ำ ใช้เป็นยาแก้โรคท้องเสีย โรคบิดเรื้อรัง ถ่ายเป็นมูกเลือด ถ่ายพยาธิ ตกขาว ดากออก แผลหิด และกลากเกลื้อนเป็นต้น

เมล็ด ใช้เมล็ดที่แห้งแล้วประมาณ 6-9 กรัม นำมาบดให้ละเอียด หรือทำเป็นยาก้อน กิน เป็นยาแก้โรคปวด จุกแน่น เนื่องจากโรคกระเพาะอาหาร บำรุงกระเพาะอาหาร ทำให้เจริญอาหาร และแก้ท้องร่วง เป็นต้น

เปลือกราก ใช้เปลือกรากที่แห้งแล้ว ประมาณ 6-12 กรัม นำมาต้มน้ำกิน เป็นยาแก้ระดู ขาว ตกเลือด ถ่ายพยาธิ หล่อลื่นลำไส้ แก้ท้องเสีย และโรคบิดเรื้อรัง เป็นต้น

อื่น ๆ : ในประเทศอินเดียทางด้านแถบตะวันตกเฉียงใต้ ได้มีการใช้เปลือกผลทับทิม นำมา ย้อมผ้า ซึ่งใช้ผสมกับครามหรือขมิ้น จะได้สีผ้าที่ย้อมนั้นเป็นสีน้ำตาลอมแดง แต่ถ้าใช้เปลือกผลอย่างเดียวก็จะได้เป็นสีเขียว ผ้าที่ย้อมชนิดนี้เรียกว่า RAKREZI

ข้อห้ามใช้ : 1. เป็นบิด ท้องเสีย หรือท้องผูก ไม่สมควรใช้เปลือกราก เป็นยาแก้
2. การใช้เปลือกรากเป็นยาแก้ ควรจะใช้อย่างระมัดระวังให้มาก เพราะเปลือกรากมี พิษ

ถิ่นที่อยู่ : ทับทิม เป็นพรรณไม้ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปเอเซีย

ตำรับยา :
1. บาดแผลจากเชื้อรา แผลเรื้อรังที่ผิวหนัง ให้ใช้เปลือกรากพอประมาณ นำมาต้มใช้น้ำล้างแผล

2. เป็นบิดเรื้อรัง หรือถ่ายเป็นเลือด ให้ใช้เปลือกผล นำมาผิวไฟให้เกรียม แล้วนำมา บดให้ละเอียด ประมาณ 3-6 กรัม ผสมกับน้ำข้าวกิน หรือมะเขือยาว 1 ลูก แล้วต้มเอาน้ำดื่มกิน

3. เป็นโรคผิวหนังเรื้อรัง ถูกน้ำร้อนลวก และแผลจากไฟไหม้ ใช้คั่วหรือผิงให้เกรียม แล้วบดให้ละเอียด ผสมกับน้ำมันพืชคลุกให้เข้ากันแล้วใช้ทาบริเวณแผล หรือใช้เปลือกผลและสารส้ม ในประมาณเท่า ๆ กัน แล้วนำมาบดให้ละเอียด แล้วใช้ทาบริเวณที่เป็น

4. เท้าที่เป็นแผลเน่าเรื้อรัง ให้ใช้เปลือกผลนำมาต้มเคี่ยวน้ำให้เหลว แล้วปล่อยให้ตก ตะกอน จากนั้นก็ใช้ทาบริเวณแผลที่เป็นทุกวัน

5. แก้เลือดกำเดาไหลไม่หยุด

- ใช้ดอกทับทิมสด โขลก หรือหั่นให้เป็นฝอย แล้วใช้อุดรูจมูก

- ใช้ดอกที่แห้งแล้ว นำมาตำให้ละเอียด ประมาณ 0.3 กรัม ใช้เป่าเข้ารูจมูก

- ใช้ดอกแห้งประมาณ 0.3 กรัม และดอกปอแก้วประมาณ 3 กรัม นำมาบด ผสมกันให้ละเอียด แล้วนำมาต้มหรือใช้ผสมกับน้ำกิน ในประมาณ 3 กรัม ต่อน้ำ 1 แก้ว

6. ขับพยาธิตัวกลม และตัวตืด ให้ใช้เปลือกรากที่แห้งแล้ว ประมาณ 18 หรือ 25 กรัม นำมาตำให้ละเอียดแล้ว ใช้ต้มน้ำกิน หรือรินเอาน้ำต้มใส่ข้าวข้น ๆ กินก่อนอาหาร

7. หญิงที่เป็นระดูขาว หรือตกเลือดมากผิดปกติ ให้ใช้รากที่สด ประมาณ 1 กำมือ นำมาเผาไฟให้เกรียม จากนั้นเอาไปต้ม หรือเคี่ยวกับน้ำให้ข้น ใช้กินครั้งละ 1 แก้ว

8. นิ่วในไต ให้ใช้รากสด และลำต้นกิมจี่เช่า ในปริมาณ 30 กรัม เท่ากัน นำมาต้มใช้ น้ำกิน

9. แผลที่ถูกคมมีด หรือของมีคมทุกชนิด ที่มีเลือดไหลใช้ดอกที่แห้งแล้ว นำมาตำให้ละเอียดแล้วใช้พอกบริเวณที่เป็นแผล

10. หูชั้นกลางอักเสบ ให้ใช้ดอกสดนำมาผิงไฟให้เกรียมบนก้อนอิฐ จากนั้นนำมาบด ให้ละเอียดผสมกับพิมเสนพอประมาณ ใช้เป่าเข้าหู

11. สำหรับเด็กที่ไม่เจริญอาหาร อาเจียนเป็นโลหิต หรือจมูกและฟันไม่ปรกติ ให้ใช้ ดอกสด (แห้ง) นำมาต้มน้ำกิน

ตำรับยา (สัตว์) :
1. ถ่ายพยาธิตัวกลมในสุกร ให้ใช้เปลือกรากและผลเล็บมือนาง ในประมาณ 15 กรัม เท่ากัน และเมล็ดหมากอีก 10 กรัม นำมาต้มน้ำให้กิน

2. ถ่ายพยาธิตัวตืดกับสัตว์เลี้ยง ให้ใช้เปลือกรากนำมาบดให้ละเอียด แล้วดอง หรือ แช่ในน้ำประมาณ 4-5 ชม. จากนั้นน้ำไปต้มให้สัตว์กิน (เปลือกรากผง สัตว์ที่มีอายุมาก
ให้ใช้ในปริมาณ 30-60 กรัม สำหรับสัตว์ที่มีอายุอ่อนหรือปานกลาง ให้ใช้ในปริมาณ 10-12 กรัม)

3. ม้าและวัว ที่อ่อนแอหมดกำลัง ให้ใช้เปลือกของผลที่แห้งแล้วในปริมาณ 30 กรัม นำมาตำให้ละเอียดใช้ละลายน้ำให้กิน

4.ลูกสุกรเป็นโรคบิด ให้ใช้เปลือกผลประมาณ 3 กรัม และเจียวซัวจา ผสมกันแล้ว คั่วให้แห้ง แล้วเติมใบกี๊บักประมาณ 10 กรัม นำมาต้มเอาน้ำให้กิน

5. ห้ามเลือดสำหรับบาดแผลข้างนอก ให้ใช้ดอกที่แห้งแล้วบดให้ละเอียดใช้โรย บริเวณที่เป็นแผล

ข้อมูลทางคลีนิค :
1. บิดอมีบา จากการรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคบิดอมีบา ในจำนวน 40 คน โดยใช้เปลือก ผลเข้มข้นประมาณ 60% ใช้ต้มน้ำกินทุก ๆ หลังอาหารในประมาณครั้งละ 20 มล (ในช่วงที่กินยา ผู้ป่วยอาจมีอาการหูอื้อ หรืออึดอัดกังวลใจบ้าง แต่ต่อมาอาการก็จะหายเอง) ผลปรากฏว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจ

2. ถ่ายพยาธิตัวตืด จากการทดลองกับคนไข้ 9 คน โดยการใช้เปลือกรากแห้ง หลังจากขูดผิวนอกออกแล้วประมาณ 25 กรัม นำไปดองหรือแช่น้ำ (300 มล.) นานประมาณ 24 ชม. จากนั้นก็นำมาต้ม ตั้งไฟอ่อน ๆ จนให้น้ำเหลือประมาณ 100 มล. ใช้ดื่มก่อนที่จะรับประทานอาหารเช้า จากนั้นอีก 4 ชม. ก็ให้กินดีเกลือประมาณ 20-25 กรัม สำหรับขับพยาธิตัวตืดออกมา จากการทดสอบปรากฏว่า
มีผู้ป่วย 5 คน ที่เป็นพยาธิจากหมู 4 คน เป็นพยาธิจากวัว และอีก 1 คนไม่ปรากฏผลอะไรเลย

3. แก้โรคบิดแบคทีเรีย จากการทดสอบกับผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ ในจำนวน 50 คน โดยการใช้เปลือกผลที่แห้งแล้วต้มให้มีความเข้มข้น 50-6% ให้ผู้ป่วยกิน 3-4 ครั้งต่อวันในประมาณ ครั้งละ 10-20 มล. ผลปรากฏว่ามีผู้ป่วย
จำนวน 49 คน มีอาการดีขึ้น อีก 1 คน มีอาการดีขึ้นภายหลัง

4. อาการอักเสบจากการติดเชื้อ จากการทดสอบคนป่วยที่เป็นไส้ติ่งอักเสบ ลำไส้อักเสบ ท่อน้ำดีอักเสบ ผิวหนังเป็นแผลติดเชื้อ ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ และหลอดลมอักเสบ จำนวน 415 คน โดยการใช้เปลือกผล ต้มให้เดือดกรองน้ำนำไประเหยแห้ง แล้วนำไปบดให้ละเอียดเป็นผง นำมาใส่ในแคปซูล ขนาด 250 มก. กินครั้งละ 3 ครั้ง ๆ ละ 1-2 แคปซูล ผลปรากฏว่าผู้ป่วยมีอาการหายขาดเลย 305 คน อาการดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด 57 คน อาการดีขึ้น 36 คน และอีก 17 คน ไม่ได้ผลเลย





  ที่มา  http://www.samunpri.com/herbs/?p=633

ชะอม สมุนไพรไทย


ชะอม

ชื่ออื่น ๆ : ผักหละ, ผักละ, ผักล่า, ผักห้า (ภาคเหนือ), ชะอม (ไทยภาคกลาง), ผักข่า (ร้อยเอ็ด),โพะซุยโด่ะ

ชื่อสามัญ : -

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acacia Insuavis, Lace

วงศ์ : MIMOSEAE

ลักษณะทั่วไป :

ต้น : เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดย่อม ลำต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลมอยู่โดยทั่วไป และจะมีกลิ่นเหม็นเขียว

ใบ : ใบเป็นสีเขียว มีก้านใบจะแยกออกเป็นใบอยู่ 2 ทาง จะมีลักษณะคล้ายใบส้มป่อย หรือใบกระถิน นอกจากนี้ใบอ่อน ๆ จะมีกลิ่นฉุนคล้ายกลิ่นของลูกสตอหรือกระถินแต่จะมีกลิ่นฉุนกว่ามาก ใช้ใบหรือยอดอ่อน ๆ ชุบไข่แล้วทอดกินเป็นอาหารกับน้ำพริก

การขยายพันธุ์ : โดยการตอน หรือปักชำ

อีกหนึ่งผักดี ๆ ที่อยากจะแนะนำและจัดว่าเป็นสมุนไพรไทยอีกด้วยนั้นคือ ชะอม นั่นเองค่ะ และเราก็มาพร้อมกับสาระน่ารู้กันอีกเช่นเคยกับ สรรพคุณของชะอมและประโยชน์ของชะอม หลายคนที่ชอบกินน้ำพริกกระปิน่าจะชอบชะอมนะ ทำไมต้องชอบชะอมนั่นเหรอค่ะ ก็ไข่เจียวชะอมไงกินคู่กับน้ำพริกกะปิอร่อยมากมายเลยทีเดียวค่ะ แต่ สรรพคุณของชะอม และ ประโยชน์ของชะอม ยังไม่หมดแต่เพียงเท่านี้เพราะมีสรรพคุณเป็นสมุนไพรก็ช่วยให้เรื่องของการรักษาสุขภาพและรักษาโรคได้อีกด้วย นั้นเราอย่ารอช้ามาดู สรรพคุณของชะอม และ ประโยชน์ของชะอม กันเลยดีกว่าค่ะ
คุณค่าทางอาหารของชะอม

ยอดชะอมใบอ่อนมีรสจืดกลิ่นฉุน (กลิ่นหอมสุขุม) ช่วยลดความร้อนของร่างกายยอดชะอม 100 กรัมให้พลังงานกับสุขภาพ 57 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วยเส้นใย 5.7 กรัม แคลแซียม 58 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 80 มิลลิกรัม เหล็ก 4.1 มิลลิกรัม วิตามินเอ 10066 IU วิตามินบีหนึ่ง 0.05 มิลลิกรัมวิตามินบีสอง 0.25 มิลลิกรัม ในอาซิน 1.5 มิลลิกรัม วิตามินซี 58 มิลลิกรัม


ประโยชน์ของชะอม

ส่วนที่เป็นผักฤดูกาล "ยอดอ่อนใบอ่อน" เป็นไม้ที่ออกยอดทั้งปีแต่จะออกมากในฤดูฝน ชาวเหนือนิยมรับประทานยอดชะอมหน้าแล้งเพราะผักชะอมหน้าฝนจะมีรสเปรี้ยวกลิ่นฉุนบ้างครั้งทำให้ปวดท้อง การปรุงอาหารชะอมเป็นผักที่รับประทานได้ในทุกภาคของเมืองไทย วิธีการปรุงเป็นอาหารคือรับประทานเป็นผักจิ้มโดยการลวกหรือนึ่งให้สุกหรือใช้ยอดอ่อนใบอ่อนเด็ดเป็นชิ้นสั้น ๆแล้วชุบกับไข่ทอดรับประทาน ร่วมกับน้ำพริกกะปิชาวเหนือรับประทานร่วมกับ ส้มตำมะม่วง ตำส้มโอ นอกจากนี้ชาวเหนือและชาวอีสานยังนิยมนำไปปรุงเป็นแกงเชน ชาวอีสานมักนำไปแกงรวมกับปลา ไก่ เนื้อ กบ เขียด ต้มเป็นอ่อมหรือแกง แกงลาว และ แกงแค ของชาวเหนือเป็นต้น


สรรพคุณของชะอม

ใบอ่อนที่เรามักนำมาประกอบอาหารนั้นก็มีสรรพคุณช่วยลดความร้อนในร่างกาย รากแก้ท้องเฟ้อ ขับลมในลำไส้ มีวิตามินเอสูง เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ แต่สำหรับคุณแม่ที่เพิ่งมีลูกอ่อนนั้นไม่ควรกินชะอมเพราะจะทำให้น้ำนมแห้ง

- ราก แก้ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ่อ ขับลมในลำใส
- แก้ลิ้นอักเสบเป็นผื่นแดง


ที่มา  http://www.samunpri.com/herbs/?p=349

สมุนไพรกับภูมิปัญญาท้องถิ่น




ขิง



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zingiber officinale Roscoe.
ชื่อวงศ์ : ZINGIBERACEAE
ชื่อพื้นเมือง: ขิงแกลง, ขิงแดง (จันทรบุรี) ขิงเผือก (เชียงใหม่) สะเอ (แม่ฮ่องสอน) ขิงบ้าน ขิงแครง ขิงป่า ขิงเขา ขิงดอกเดียว (ภาคกลาง) เกีย (จีนแต้จิ๋ว)
ลักษณะทั่วไป : ไม้ล้มลุก สูง 0.3-1 เมตร มีเหง้าใต้ดิน เปลือกนอกสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีนวลแกมเขียว มีกลิ่นเฉพาะ แตกสาขา คล้ายนิ้วมือ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนาน แกมใบหอก กว้าง 1.5-2 ซม. ยาว 15-20 ซม. ดอกช่อแทงออกจากเหง้า กลีบดอกสีเหลืองแกมเขียว ใบประดับสีเขียวอ่อน ผลแห้ง มี 3 พูสรรพคุณเหง้าแก่ทั้งสดและแห้งใช้เป็นยาขับลม ช่วยให้เจริญอาหาร แก้อาเจียน แก้ไอ ขับเสมหะและขับเหงื่อ ผงขิงแห้งมีฤทธิ์ขับน้ำดี ช่วยย่อยไขมัน ลดการบีบตัวของลำไส้ บรรเทาอาการปวดท้องเกร


 บัวบก


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Centella asiatica Urban
วงศ์ : Umbelliferae
ชื่อสามัญ : Asiatic Pennywort/Tiger Herbalชื่ออื่น : ผักแว่น ผักหนอก
รูปลักษณะ : ไม้ล้มลุก อายุหลายปี เลื้อยแผ่ไปตามพื้นดิน ชอบที่ชื้นแฉะ แตกรากฝอยตามข้อ ไหลที่แผ่ไปจะงอกใบจากข้อ ชูขึ้น 3-5 ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไต เส้นผ่าศูนย์กลาง 2-5 ซม. ขอบใบหยัก ก้านใบยาว ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ ขนาดเล็ก 2-3 ดอก กลีบดอกสีม่วง ผลแห้ง แตกได้สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยาใบสด - ใช้เป็นยาภายนอกรักษาแผลเปื่อย แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก โดยใช้ใบสด 1 กำมือ ล้างให้สะอาด ตำละเอียด คั้นเอาน้ำทาบริเวณแผลบ่อย ๆ ใช้กากพอกด้วยก็ได้ แผลจะสนิทและเกิดแผลเป็นชนิดนูน (keloid) น้อยลง สารที่ออกฤทธิ์คือ กรด madecassic, กรด asiatic และ asiaticoside ซึ่งช่วยสมานแผลและเร่งการสร้างเนื้อเยื่อ ระงับการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ที่ทำให้เกิดหนองและลดการอักเสบ มีรายงานการค้นพบฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา อันเป็นสาเหตุของโรคกลาก ปัจจุบัน มีการพัฒนายาเตรียมชนิดครีม ให้ทารักษาแผลอักเสบจากการผ่าตัด น้ำต้มใบสด - ดื่มลดไข้ รักษาโรคปากเปื่อย ปากเหม็น เจ็บคอ ร้อนใน กระหายน้ำ ขับปัสสาวะ แก้ท้องเสีย



ข่า



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Languas galaga (Linn). Stuntz
ชื่อวงศ์: ZINGIBERACEAE
ชื่อพื้นเมือง: ข่า ข่าใหญ่ ข่าหลวง ข่าหยวก (ภาคเหนือ) กุฎกกโรหินี เสะเออเคย (แม่ฮ่องสอน) สะเชย (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทั่วไป : ไม้ล้มลุก สูง 1.5-2 เมตร เหง้ามีข้อและปล้องชัดเจน ใบเดี่ย ใบสีเขียวอ่อนสลับกัน รูปร่างรียาว ปลายแหลม ดอกออกเป็นช่อที่นอ ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาว โคนติดกันเป็นหลอดสั้นๆ ปลายแยกเป็น 3 กลีบ กลีบใหญ่ที่สุดมีริ้วสีแดง ใบประดับรูปไข่ ผลแห้ง แตกได้ รูปกลมสรรพคุณเหง้าสดตำผสมกับเหล้าโรง ใช้ทารักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา เช่น กลาก เกลื้อน เหง้าอ่อนต้มเอาน้ำดื่ม บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และขับลม ข่าไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์และไม่เป็นพิษ


กระชาย


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Boesenbergia rotunda (Linn.) Mansf.
ชื่อวงศ์ : ZINGIBERACEAE
ชื่อพื้นเมือง: ขิง กระชาย กะชาย ว่านพระอาทิตย์ (กรุงเทพฯ) กระแอม ระแอน (ภาคเหนือ) ขิงทราย (มหาสารคาม) จี๊ปู ซีฟู (ฉาน-แม่ฮ่องสอน) เป๊าะสี่ เป๊าซอเร้าะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทั่วไป : ไม้ล้มลุก ไม่มีลำต้นบนดิน มีเหง้าใต้ดิน ซึ่งแตกรากออกไป เป็นกระจุกจำนวนมาก อวบน้ำ ตรงกลางพองกว้างกว่าส่วนหัวและท้าย ใบเดี่ยว เรียงสลับในระนาบเดียวกัน รูปขอบขนานแกมรูปไข่ ตรงกลางด้านในของก้านใบมีรองลึก ดอกช่อ ออกแทรกอยู่ระหว่างกาบใบที่โคนต้น กลีบดอกสีขาวหรือชมพูอ่อน ใบประดับรูปใบหอก สีม่วงแดง ดอกย่อยบานครั้งละ 1 ดอก ผลของกระชายเป็นผลแห้งสรรพคุณเหง้าใช้แก้โรคในปาก ขับปัสสาวะ รักษาโรคบิด แก้ปวดมวนท้อง ขับระดูขาว



 ที่มา  http://supapan-kednom.blogspot.com/2008/02/blog-post_24.html

วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สรรพคุณของยอ

 ยอ

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Morinda citrifolia  L.

ชื่อสามัญ :   Indian Mulberry

วงศ์ :   Rubiaceae

ชื่ออื่น :  ยอบ้าน (ภาคกลาง) มะตาเสือ (ภาคเหนือ) ยอ แยใหญ่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 2-6 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาล แตกเป็นสะเก็ดแล้วหลุดออก กิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปรี กว้าง 8-15 ซม. ยาว 10-20 ซม. ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียวเข้มเป็นมัน ดอก ออกเป็นช่อกลมตามซอกใบ ดอกสีขาว กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก มีกลิ่นหอม ผล เป็นผลรวม ผิวขรุขระเป็นตุ่ม ผลสุกมีกลิ่นเหม็นเอียน เมล็ดสีน้ำตาลมีหลายเมล็ด
ส่วนที่ใช้ :  ใบ ราก ผลดิบ ผลสุก

สรรพคุณ :

    ใบ -  มีวิตามินเอ 40,000 กว่ายูนิตสากลต่อ 100 กรัม มีคุณสมบัติในการบำรุงสายตา หัวใจ คั้นน้ำทาแก้โรคเก๊าท์ ปวดตามข้อเล็กๆ ของนิ้วมือ นิ้วเท้า หรือคั้นน้ำสระผมฆ่าเหา แก้กระษัย ใช้ใบปรุงเป็นอาหาร แก้ท้องร่วง

    ราก -  ใช้เป็นยาระบาย แก้กระษัย ใช้สกัดสีออกมา เป็นสีย้อมผ้าได้ โดยผสมส่วนของเกลือต่างๆ สามารถเปลี่ยนเป็นสีต่างๆ ได้ตามต้องการ ซึ่งสีเดิมของรากจะมีสีเหลือง หรือเหลืองปนแดง หากผสมตามส่วนด้วยเกลือ อาจจะได้สีแดง ชมพู น้ำตาลอ่อน สีม่วงแดง หรือสีดำ เป็นต้น
    ผลโตเต็มที่แต่ไม่สุก  - จิ้มน้ำผึ้งรับประทาน มีคุณสมบัติเป็นยาขับลม บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ขับลมในลำไส้ กระเพาะอาหาร แก้เหงือกเปื่อยเป็นขุมบวม ขับเลือดลม ขับโลหิตประจำเดือน

    ผลดิบ -  ต้มน้ำรับประทานกับรากผักชี แก้อาการอาเจียนของหญิงมีครรภ์

วิธีและปริมาณที่ใช้ :
          นำผลยอโตเต็มที่แต่ไม่สุก ฝานเป็นชิ้นบางๆ ย่างหรือคั่วไฟอ่อนๆ ให้เหลืองกรอบ ใช้ครั้งละ 1 กำมือ (10-15 กรัม) ต้มหรือชงกับน้ำ เอาน้ำที่จิบทีละน้อย และบ่อยๆ ครั้งจะได้ผลดีกว่าดื่มครั้งเดียว
สารเคมี : ผลยอนั้นมีสารเคมี Asperuloside, caproic acid, caprylic acid และ glucose
      
 ที่มา   http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_05_11.htm

ชุมเห็ดเทศ





ชื่อวิทยาศาสตร์ :    Cassia alata ( L.) Roxb.

ชื่อสามัญ :   Ringworm Bush

วงศ์ :    Leguminosae

ชื่ออื่น :  ขี้คาก ลับมีนหลวง หมากกะลิงเทศ ชุมเห็ดใหญ่

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้พุ่ม สูง 1-3 เมตร แตกกิ่งออกด้านข้างในแนวขนานกับพื้น ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยรูปขอบขนานรูปวงรีแกมขอบขนาน หรือรูปไข่กลับ กว้าง 3-7 ซ.ม. ยาว 6-15 ซ.ม. หนูใบเป็นรูปสามเหลี่ยม ดอกช่อ ออกที่ซอกใบตอนปลายกิ่งกลีบดอกสีเหลืองทองใบประดับสีน้ำตาลแกมเหลือง หุ้มดอกย่อยเห็นชัดเจน ผลเป็นฝัก มี 4 ครีบ เมล็ดแบน รูปสามเหลี่ยม

ส่วนที่ใช้ : ใบสดหรือแห้ง เมล็ดแห้ง ดอกสดของต้นขนาดกลาง ไม่แก่หรืออ่อนเกินไป
สรรพคุณ :

    ใบสด  -  รักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน ฝีและแผลพุพอง
    ดอก, ใบสดหรือแห้ง - เป็นยาระบาย ยาถ่าย ถ่ายพยาธิลำไส้

    เมล็ด  -  ขับพยาธิ เป็นยาระบายอ่อน

วิธีและปริมาณที่ใช้ :
          ใบและดอกชุมเห็ดใช้เป็นยารักษาโรคและอาการดังนี้

    เป็นยาระบาย ยาถ่าย แก้อาการท้องผูก
    ใช้ดอกชุมเห็ดเทศสด 1-3 ช่อดอก (หรือแล้วแต่คนที่ธาตุเบาธาตุหนัก ช่อดอกใหญ่หรือเล็ก) ต้มรับประทานจิ้มกับน้ำพริก หรือ ใช้ใบสด 8-12 ใบ ล้างให้สะอาด หั่นตากแห้ง หรือปิ้งไฟให้เหลือง หั่น ใช้ต้มหรือชงน้ำดื่ม ครั้งละ 1 ถ้วยแก้ว เติมเกลือเล็กน้อย ดื่มให้หมด
    หรือใช้ใบแห้งบดเป็นผง ปั้นกับน้ำผึ้งเป็นลูกกลอนขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย รับประทานครั้งละ 3 เม็ด ก่อนนอน หรือเมื่อมีอาการท้องผูก
    หรือ ใช้เมล็ด คั่วให้เหลือง ชงน้ำดื่มเป็นน้ำชา เป็นยาระบายอ่อนๆ

    เป็นยารักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน
    ใช้ใบสด 3-4 ใบย่อย ขยี้หรือตำในครกให้ละเอียด เติมเกลือเล็กน้อย หรือใช้ใบชุมเห็ดเทศกับหัวกระเทียมปริมาณเท่ากัน ผสมปูนแดงที่กินกับหมากนิดหน่อย ตำผสมกันทาบริเวณที่เป็นกลาก หรือโรคผิวหนัง โดยเอาผิวไม้ไผ่ขูดบริเวณที่เป็นกลากเบาๆ แล้วทายาวันละ 2 ครั้ง เช้าเย็นจนกว่าจะหาย หายแล้วทาต่ออีก 7 วัน

    รักษาฝีและแผลพุพอง
    ใช้ใบชุมเห็ดเทศ และก้านสด 1 กำมือ ต้มกับน้ำพอท่วมยาแล้วเคี่ยวให้เหลือ 1 ใน 3 ชะล้างบริเวณที่เป็นวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ถ้าเป็นมากให้ใช้ประมาณ 10 กำมือ ต้มอาบ

สารเคมี : ใบ พบ anthraquinone เช่น aloe-emodin, chrysophanol, sennoside, flavonoids, terpenoids, iso-chrysophanol, physcion glycoside, kaempferol, chrysophanic acid, lectin, sitosterols, rhein


ที่มา   http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_05_3.htm

เสลดพังพอน

 เสลดพังพอนตัวเมีย


ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Clinacanthus nutans (Burm.f) Lindau.

ชื่อสามัญ :   -

วงศ์ :   ACANTHACEAE

ชื่ออื่น :  ผักมันไก่ ผักลิ้นเขียด (เชียงใหม่) พญาปล้องดำ (ลำปาง) พญาปล้องทอง (ภาคกลาง) ลิ้นมังกร โพะโซ่จาง (กะเหรี่ยง) เสลดพังพอนตัวเมีย

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้พุ่มเลื้อย ลำต้นและกิ่งก้านสีเขียว ใบเป็นใบเลี้ยงเดี่ยวออกตรงข้ามกัน รูปรีแคบขอบขนาน กลีบดอกสีแดงส้ม โคนกลีบดอกติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 2 ส่วน ขึ้นตามป่า หรือปลูกกันตามบ้าน ขยายพันธุ์โดยวิธีปักชำ เสลดพังพอนมีชื่อพ้องกัน คือ เสลดพังพอนตัวผู้ และเสลดพังพอนตัวเมีย แต่ต่างกันที่เสลดพังพอนตัวผู้มีหนาม สรรพคุณอ่อนกว่าเสลดพังพอนตัวเมีย เพื่อไม่ให้สับสนจึงเรียกเสลดพังพอนตัวเมียว่า พญายอ และตำรายาไทยนิยมนำมาทำยา
ส่วนที่ใช้ : ส่วนทั้ง 5  ใบสด  ราก

สรรพคุณ :

    ส่วนทั้ง 5  -   ใช้ถอนพิษ โดยเฉพาะพิษแมลงสัตว์กัดต่อย ตะขาบ แมลงป่อง รักษาอาการอักเสบ งูสวัด ลมพิษ แผลน้ำร้อนลวก
    ใบ - นำมาสกัดทำทิงเจอร์และกรีเซอรีน ใช้รักษาแผลผิวหนังชนิดเริ่ม Herpes และรักษาแผลร้อนในในปาก Apthous ตับพิษร้อน แก้แผลน้ำร้อนลวก

    ราก  - ปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ ขับประจำเดือน แก้ปวดเมื่อยบั้นเอว

วิธีและปริมาณที่ใช้ :

    รักษาอาการอักเสบ ถอนพิษ รักษาแผลร้อนในในปาก เริม งูสวัด
    - ใช้ใบเสลดพังพอนตัวเมียสด 10-20 ใบ (เลือกใบสีเขียวเข้มสดเป็นมันไม่อ่อนไม่แก่จนเกินไป)นำมาตำผสมกับเหล้าหรือน้ำมะนาว คั้นเอาน้ำดื่มหรือเอาน้ำทาแผลและเอากากพอกแผล
    - ใช้ใบเสลดพังพอน 1,000 กรัม หมักใน alcohol 70 % 1,000 ซีซี. หมักไว้ 7 วัน นำมากรองแล้วเอาไประเหยให้เหลือ 500 ซีซี. เติม glycerine pure ลงไปเท่ากับจำนวนที่ระเหยไป (500 ซีซี.) นำน้ำยาเสลดพังพอนกรีเซอรีนที่ได้ทาแผลเริม งูสวัด แผลร้อนในปาก ถอนพิษต่างๆ

    ทาบริเวณที่แมลงสัตว์กัดต่อยเป็นผื่นคัน
    - ใช้ใบสด 5-10 ใบ ตำขยี้ทาบริเวณที่เป็นแผลที่แพ้ จะยุบหายได้ผลดี

    แก้แผลน้ำร้อนลวก
    - ใช้ใบตำเคี่ยวกับน้ำมะพร้าวหรือน้ำมันงา เอากากพอกแผลที่ถูกน้ำร้อนลวกหรือไฟไหม้ แผลจะแห้ง
    - นำใบมาตำให้ละเอียดผสมกับสุรา ใช้พอกบริเวณที่ถูกไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก มีสรรพคุณดับพิษร้อนได้ดี

สารเคมี :
          ราก  พบ Betulin, Lupeol, β-sitosterol
          ใบ  พบ Flavonoids
 เสลดพังพอนตัวผู้



ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Barleria lupulina Lindl.

ชื่อสามัญ :   Hop Headed Barleria

วงศ์ :   ACANTHACEAE

ชื่ออื่น :  พิมเสนต้น (ภาคกลาง) ทองระอา ช้องระอา ลิ้นงูเห่า เสลดพังพอนตัวผู้ (กรุงเทพฯ) คันชั่ง (ตาก) อังกาบ อังกาบเมือง (ไทย) ก้านชั่ง (พายัพ)
ชื่อภาษาอังกฤษ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูงประมาณ 1 เมตร มีหนามแหลมยาว ข้อละ 2 คู่ ถึง 3 คู่กิ่งก้าน ก้านใบสีน้ำตาลแดง ใบเดี่ยวสีเขียวเข้ม เส้นกลางใบแดง ดอกช่อออกที่ปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 8 ซม. มีใบประดับสีน้ำตาลแดง ค่อนข้างกลม กลีบดอกสีส้ม ผลเป็นฝักรูปไข่
ส่วนที่ใช้ : ราก ใบ ส่วนทั้ง 5

สรรพคุณ :

    ราก  -  แก้ตาเหลือง หน้าเหลือง เมื่อยตัว กินข้าวไม่ได้ แก้เจ็บท้อง แก้ผิดอาหาร ถอนพิษงู พิษแมลงสัตว์กัดต่อย แก้ปวดฟัน 
    ใบ - ถอนพิษแมลงสัตว์กัดต่อย แก้ลมพิษ รักษาเม็ดผื่นคันตามผิวหนัง แก้โรคเบาหวาน แก้ปวดแผล แผลจากของมีคมบาด แก้โรคฝีต่างๆ รักษาโรคคางทูม แก้โรคไฟลามทุ่ง แก้ขยุ้มตีนหมา แก้โรคงูสวัด รักษาโรคเริม ถอนพิษจากเม็ดตุ่มฝีดาษ รักษาโรคฝีดาษ แก้ฟกช้ำ แก้ช้ำบวมเนื่องจากถูกของแข็ง ถอนพิษไข้ พิษไข้ทรพิษ แก้ปวดฟัน เหงือกบวม แก้ริดสีดวงทวาร แก้ยุงกัด แก้พิษไฟลวกน้ำร้อนลวก แก้ปวดจากปลาดุกแทง

    ส่วนทั้ง 5 - ใช้เหมือนเสลดพังพอนตัวเมีย และใช้แทนเสลดพังพอนตัวเมียได้ แต่ใบเสลดพังพอนตัวเมียมีรสจืด ใบเสลดพังพอนตัวผู้มีรสขมมาก และเสลดพังพอนตัวผู้มีฤทธิ์อ่อนกว่าเสลดพังพอนตัวเมีย

วิธีและปริมาณที่ใช้ :
          ใช้เหมือนเสลดพังพอนตัวเมียทุกอย่าง
สารเคมี :
          ต้น  พบ Iridiod glycoside, Acetyl barlerin , Barlerin, Shanzhiside methyl ester


   ที่มา  http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_20_7.htm

สมุนไพรที่มีสรรพคุณลดไขมันในเส้นเลือด

กระเจี้ยบ


ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Hibiscus sabdariffa  L.

ชื่อสามัญ : Jamaican Sorel, Roselle

วงศ์ :  Malvaceae

ชื่ออื่น : กระเจี๊ยบ  กระเจี๊ยบเปรี้ย  ผักเก็งเค็ง  ส้มเก็งเค็ง  ส้มตะเลงเครง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 50-180 ซม. มีหลายพันธุ์ ลำต้นสีม่วงแดง ใบเดี่ยว รูปฝ่ามือ 3 หรือ 5 แฉก กว้างและยาวใกล้เคียงกัน 8-15 ซม. ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีชมพูหรือเหลืองบริเวณกลางดอกสีม่วงแดง เกสรตัวผู้เชื่อมกันเป็นหลอด ผลเป็นผลแห้ง แตกได้ มีกลีบเลี้ยงสีแดงฉ่ำน้ำหุ้มไว้

สรรพคุณ :

    กลีบเลี้ยงของดอก หรือกลีบที่เหลืออยู่ที่ผล

    เป็นยาลดไขมันในเส้นเลือด และช่วยลดน้ำหนักด้วย

    ลดความดันโลหิตได้โดยไม่มีผลร้ายแต่อย่างใด

    น้ำกระเจี๊ยบทำให้ความเหนียวข้นของเลือดลดลง

    ช่วยรักษาโรคเส้นโลหิตแข็งเปราะได้ดี
    น้ำกระเจี๊ยบยังมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ เป็นการช่วยลดความดันอีกทางหนึ่ง

    ช่วยย่อยอาหาร เพราะไม่เพิ่มการหลั่งของกรดในกระเพาะ

    เพิ่มการหลั่งน้ำดีจากตับ

    เป็นเครื่องดื่มที่ช่วยให้ร่างกายสดชื่น เพราะมีกรดซีตริคอยู่ด้วย

    ใบ  แก้โรคพยาธิตัวจี๊ด ยากัดเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในลำคอ ให้ลงสู่ทวารหนัก

    ดอก  แก้โรคนิ่วในไต แก้โรคนิ่วในกระเพราะปัสสาวะ ขัดเบา ละลายไขมันในเส้นเลือด กัดเสมหะ ขับเมือกในลำไส้ให้ลงสู่ทวารหนัก

    ผล  ลดไขมันในเส้นเลือด แก้กระหายน้ำ รักษาแผลในกระเพาะ

    เมล็ด  บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง แก้ดีพิการ ขับปัสสาวะ ลดไขมันในเส้นเลือด

          นอกจากนี้ได้บ่งสรรพคุณโดยไม่ได้ระบุว่าใช้ส่วนใด ดังนี้คือ แก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ แก้ดีพิการ แก้ปัสสาวะพิการ แก้คอแห้งกระหายน้ำ แก้ความดันโลหิตสูง กัดเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในลำไส้ ลดไขมันในเลือด บำรุงโลหิต ลดอุณหภูมิในร่างกาย แก้โรคเบาหวาน แก้เส้นเลือดตีบตัน
นอกจากใช้เดี่ยวๆ แล้ว ยังใช้ผสมในตำรับยาร่วมกับสมุนไพรอื่น ใช้ถ่ายพยาธิตัวจี๊ด

วิธีและปริมาณที่ใช้ :
          โดยนำเอากลีบเลี้ยง หรือกลีบรองดอกสีม่วงแดง ตากแห้งและบดเป็นผง ใช้ครั้งละ 1 ช้อนชา  (หนัก 3 กรัม) ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย (250 มิลลิลิตร) ดื่มเฉพาะน้ำสีแดงใส ดื่มวันละ 3 ครั้ง ติดต่อกันทุกวันจนกว่าอาการขัดเบาและอาการอื่นๆ จะหายไป
สารเคมี
          ดอก  พบ Protocatechuic acid, hibiscetin, hibicin, organic acid, malvin, gossypetin
คุณค่าด้านอาหาร
          น้ำกระเจี๊ยบแดง มีรสเปรี้ยว นำมาต้มกับน้ำ เติมน้ำตาล ดื่มแก้ร้อนใน กระหายน้ำ และช่วยป้องกันการจับตัวของไขมันในเส้นเลือดได้ และยังนำมาทำขนมเยลลี่ แยม หรือใช้เป็นสารแต่งสี ใบอ่อนของกระเจี๊ยบเป็นผักได้ หรือใช้แกงส้ม รสเปรี้ยวกำลังดี กระเจี๊ยบเปรี้ยวมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า "ส้มพอเหมาะ" ในใบมี วิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา ส่วนกลีบเลี้ยงและกลีบดอก มีสารแคลเซียม ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง
          น้ำกระเจี๊ยบแดงที่ได้สีแดงเข้ม สาร Anthocyanin นำไปแต่งสีอาหารตามต้องการ


 คำฝอย




 ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Carthamus tinctorius  L.

ชื่อสามัญ :  Safflower, False Saffron, Saffron Thistle

วงศ์ :  Compositae

ชื่ออื่น : คำ  คำฝอย ดอกคำ (เหนือ)  คำยอง (ลำปาง)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก สูง 40-130 ซม. ลำต้นเป็นสัน แตกกิ่งก้านมาก ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรี รูปใบหอกหรือรูปขอบขนาน กว้าง 1-5 ซม. ยาว 3-12 ซม. ขอบใบหยักฟันเลื่อย ปลายเป็นหนามแหลม ดกช่อ ออกที่ปลายยอด มีดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก เมื่อบานใหม่ๆ กลีบดอกสีเหลืองแล้วจึงเปลี่ยนเป็นสีแดง ใบประดับแข็งเป็นหนามรองรับช่อดอก ผลเป็นผลแห้ง ไม่แตก เมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยม สีขาว ขนาดเล็ก

สรรพคุณ :

    ดอก หรือกลีบที่เหลืออยู่ที่ผล
    - รสหวาน บำรุงโลหิตระดู แก้น้ำเหลืองเสีย แก้แสบร้อนตามผิวหนัง
    - บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ บำรุงประสาท ขับระดู แก้ดีพิการ
    - โรคผิวหนัง ฟอกโลหิต
    - ลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันไขมันอุดตัน

    เกสร
    - บำรุงโลหิต ประจำเดือนของสตรี

    เมล็ด
    - เป็นยาขับเสมหะ แก้โรคผิวหนัง ทาแก้บวม
    - ขับโลหิตประจำเดือน
    - ตำพอกหัวเหน่า แก้ปวดมดลูกหลังจากการคลอดบุตร
    น้ำมันจากเมล็ด
    - ทาแก้อัมพาต และขัดตามข้อต่างๆ

    ดอกแก่
    - ใช้แต่งสีอาหารที่ต้องการให้เป็นสีเหลือง

วิธีและปริมาณที่ใช้ :
          ชาดอกคำฝอย ช่วยเสริมสุขภาพ ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด โดยใช้ดอกแห้ง 2 หยิบมือ (2.5 กรัม) ชงน้ำร้อนครึ่งแก้ว ดื่มเป็นเครื่องดื่มได้
สารเคมี
          ดอก  พบ Carthamin, sapogenin, Carthamone, safflomin A, sfflor yellow, safrole yellow
         เมล็ด จะมีน้ำมัน ซึ่งประกอบด้วยกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัว
คุณค่าด้านอาหาร
         ในเมล็ดคำฝอย มีน้ำมันมาก สารในดอกคำฝอย พบว่าแก้อาการอักเสบ มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อบางตัวได้
         ในประเทศจีน ดอกคำฝอย เป็นยาเกี่ยวกับสตรี ตำรับยาที่ใช้รักษาสตรีที่ประจำเดือนคั่งค้างไม่เป็นปกติ หรืออาการปวดบวม ฟกช้ำดำเขียว มักจะใช้ดอกคำฝอยด้วยเสมอ โดยต้มน้ำแช่เหล้า หรือใช้วิธีตำพอก แต่มีข้อควรระวังคือ หญิงมีครรภ์ ห้ามรับประทาน
         ใช้ดอกคำฝอยแก่ มาชงน้ำร้อน กรอง จะได้น้ำสีเหลืองส้ม (สาร safflower yellow) ใช้แต่งสีอาหารที่ต้องการให้เป็นสีเหลือง

ที่าม   http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_01_1.htm

ตัวอย่าง พืชสมุนไพรพื้นบ้าน

โหระพา

ชื่ออื่น ๆ : ห่อกวยซวย, โหระพาไทย, ห่อวอซุ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ชื่อสามัญ : Common Basil, Sweet Basil
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ocimum basilicum Linn.
วงศ์ : LABIATAE
ลักษณะทั่วไป :
      ต้น : เป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นตั้งตรงมีความสูง 8-28 นิ้ว ลักษณะของลำต้น และกิ่งก้านเป็นเหลี่ยม แตกกิ่งก้านสาขามีมาก ผิวเปลือกลำต้นมีเป็นสีเขียวอมม่วง และมีขนปกคลุมทั้งลำต้นมีกลิ่นหอม

      ใบ : ใบออกเป็นใบเดี่ยว มีลักษณะเป็นรูปรียาว ปลายและโคนใบเรียวแหลม ริมขอบใบเรียบ หรือมีหยักเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-3.5 ซม. ยาวประมาณ 2-6 ซม. ใบมีสีเขียวเข้ม ก้านใบยาวประมาณ 0.7-2 ซม.
      ดอก : ดอกออกเป็นช่อ ชั้น ๆ คล้ายฉัตร ออกอยู่ตามบริเวณปลายยอด ลักษณะของดอกย่อยมีกลีบเลี้ยง เชื่อมติดกันเป็นหลอด ส่วนปลายแยกเป็น 5 กลีบ มีสีขาวหรือสีแดงเรื่อ กลีบดอกยาวประมาณ 9 มม.

      ผล : พอดอกร่วงโรยก็จะติดผล เป็นสีน้ำตาล ผลหนึ่งมีเมล็ด .4 เม็ด ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปกลมรี มีขนาดยาวประมาณ 2 มม.

      การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง นิยมปลูกทั่วไปในครัวเรือน ขึ้นได้ดีในดินเกือบทุกประเภท ขยายพันธุ์ด้วยการใช้เมล็ด

      ส่วนที่ใช้ : ลำต้น เมล็ด ราก

      สรรพคุณ : ลำต้น ใช้ลำต้นสด ประมาณ 6-10 กรัม นำมาต้มเอาน้ำ กินเป็นยาแก้ปวด แก้หวัด ปวดกระเพาะอาหาร ท้องเสีย จุกเสียดแน่นท้อง ทำให้เจริญอาหาร ขับเหงื่อ ขับเสมหะ ขับลม ปวดศีรษะ ปวดข้อ หนองใน หรือใช้ตำให้ละเอียด คั้นเอาน้ำทา หรือใช้พอกแผลฟกช้ำจากการหกล้ม หรือถูกกระทบกระแทก แผลที่เป็นหนองเรื้อรัง แก้พิษถูกงูกัด แมลงสัตว์กัดต่อย เป้นกลากเกลื้อน และใช้หยอดหูแก้ปวดหู เป็นต้น
      เมล็ด ใช้เมล็ดแห้ง นำมาต้มหรือแช่น้ำกิน เป็นยาระบาย หรือใช้แก้โรคตาแดงมีขี้ตามาก และต้อตา เป็นต้น

      ราก ใช้รากสดหรือรากแห้ง นำมาเผาไฟให้เป็นเถ้า บดให้ละเอียดใช้พอก บริเวณที่เป็นแผลเรื้อรัง แผลมีหนองในเด็ก

 กะเพรา

กะเพรา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Ocimum sanctum) เป็นไม้ล้มลุก แตกกิ่งก้านสาขา สูง 30 - 60 ซม. นิยมนำใบมาประกอบอาหารคือ ผัดกะเพรา กะเพรามี 3 พันธุ์ คือ กะเพราแดง กะเพราขาว และ กะเพราลูกผสมระหว่างกะเพราแดงและกะเพราขาว

กะเพรามีชื่อสามัญอื่นอีกคือ กอมก้อ (เชียงใหม่) กอมก้อดง (เชียงใหม่) กะเพราขน (กลาง) กะเพราขาว (กลาง) กะเพราแดง (กลาง) ห่อกวอซู (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) ห่อตูปลู (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) อิ่มคิมหลำ (เงี้ยว แม่ฮ่องสอน) และ อีตู่ไทย (ตะวันออกเฉียงเหนือ)
สรรพคุณกะเพรา

    ใบ บำรุงธาตุไฟธาตุ ขับลมแก้ปวดท้องอุจจาระ แก้ลมตานซาง แก้จุกเสียด แก้คลื่นเหียนอาเจียน และขับลม
    เมล็ด เมื่อนำไปแช่น้ำเมล็ดจะพองตัวเป็นเมือกขาว ใช้พอกบริเวณตา เมื่อตามีผง หรือฝุ่นละอองเข้า ผงหรือฝุ่นละอองนั้นก็จะออกมา ซึ่งจะไม่ทำให้ตาเรานั้นช้ำอีกด้วย
    ราก ใช้รากที่แห้งแล้ว ชงหรือต้มกับน้ำร้อนดื่ม แก้โรคธาตุพิการ[
    น้ำสกัดทั้งต้นมีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ สามารถรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ในใบมีฤทธิ์ขับน้ำดี ช่วยย่อยไขมันและลดอาการจุกเสียด

    ใบและกิ่งสดเมื่อนำมาสกัดน้ำมันหอมระเหยโดยการต้มกลั่น (hydrodistillation) ได้น้ำมันหอมระเหยร้อยละ 0.08-0.10 ซึ่งมีราคา 10,000 บาทต่อกิโลกรัม


 แมงลัก

 ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ocimum × citriodourum
ชื่อวงศ์ : LAMIACEAE
ชื่อท้องถิ่น :  แมงลัก นางลัก ผักอีตู่ ก้อมก้อข้าว มังลัก

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
 เป็นพืชล้มลุกในสกุลกะเพรา-โหระพา แมงลักมีใบเล็ก สีอ่อน บอบบาง ช้ำง่ายและเหี่ยวง่ายกว่า ชื่อสามัญเดิมเรียกกันว่า hoary basil (hoary แปลว่าผมหงอก) โดยนำมาจากลักษณะที่มีขนอ่อนสีขาวๆ บริเวณก้านใบและยอดอ่อน ต่อมาก็เปลี่ยนมาเรียกว่า lemon basil ตามลักษณะกลิ่นที่คล้ายส้ม-มะนาว ส่วนแมงลักศรแดงของไทยเรียกว่า thai lemon basil
แมงลักนำไปใช้ได้ทั้งใบและเมล็ด ใบมีกลิ่นฉุน ใช้ประกอบอาหารเช่นเดียวกับกระเพราและโหระพา ส่วนมากจะใช้รับประทานกับขนมจีน หรือใส่เครื่องแกงต่างๆ ส่วนเมล็ดแมงลักใช้ทำเป็นขนมอื่นๆ ได้ นอกจากนี้ เมล็ดแมงลักนำมาทำเป็นยาระบายและอาหารเสริมลดความอ้วนได้

สรรพคุณของใบแมงลัก

- ขับลมในลำไส้ อาหารไม่ย่อย อาการอึดอัด แน่นไม่สบายท้อง ให้นำต้นและใบแมงลักต้มน้ำดื่ม

- ขับเหงื่อ เมื่อมีอาการครั่นเนื้อครั่นตัวไม่ค่อยสบาย นำต้นและใบแมงลักต้มน้ำดื่ม

- บรรเทาอาการหวัด อาการคัดจมูก น้ำูกไหล หลอดลมอักเสบ ใช้ใบแมงลัก 1 กำมือล้างสะอาดโขลกคั้นน้ำดื่ม 1 ถ้วยตะไลบรรเทาอาการดังกล่าว สำหรับกรณีของหลอดลมอักเสบให้คั้นน้ำดื่ม 1 ถ้วยตะไล 3 เวลาเช้า-กลางวัน-เย็น

- บรรเทาอาการผื่นคัน พิษจากพืช พิษสัตว์กัดต่อยหรืออาการคันจากเชื้อรา ใช้ใบแมงลักสดโขลกพอกบริเวณที่มีอาการและเปลี่ยนยาบ่อย ๆ

- แก้ท้องร่วงท้องเสีย ใบแมงลักสัก 2 กำมือ ล้างสะอาด โขลกบีบคั้นน้ำดื่ม แก้ท้องร่วงได้

- เพิ่มน้ำนมแม่ ให้แม่ที่ให้นมลูกกินแกงเลียงหัวปลี ใส่ใบแมงลักและให้ลูกดูดหัวน้ำนมบ่อย ๆ เพิ่มการสร้างน้ำนมแม่
- บำรุงสายตา ใบแมงลักมีวิตามินเอสูง การกินใบแมงลักเป็นประจำช่วยบำรุงสายตา

- บำรุงเลือด แก้โลหิตจาง ใบแมงลักอุดมด้วยธาตุเหล็กช่วยบำรุงโลหิต

- เสริมสร้างกระดูก ใบแมงลักมีแคลเซียมสูงช่วยบำรุงกระดูก

- เป็นยาระบาย ใช้เมล็ดแก่ของแมงลักสัก 1 ช้อนชาแช่น้ำ 1 แก้ว ปล่อยให้พองตัวดีแล้วเติมน้ำตาลเล็กน้อยดื่มแก้ท้องผูก แนะนำให้ใช้กับหญิงตั้งครรภ์และแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมตนเองที่ไม่ต้องการภาวะท้องผูกเพราะเป็นการแก้ปัญหาแบบธรรมชาติ

- ใช้ลดความอ้วน เปลือกผล (ที่เรียกเมล็ดแมงลัก) มีสารเมือกซึ่งสามารถพองตัวในน้ำได้ 45 เท่า เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ชอบกินอาหารที่มีกาก ใช้ผลแมงลัก 1-2 ช้อนชาแช่น้ำ 1 แก้ว ทิ้งไว้จนพองตัวเต็มที่ กินก่อนมื้ออาหารครึ่งชั่วโมงดื่มน้ำตามช่วยให้กินอาหารได้น้อยลง ลดปริมาณพลังงานอาหารช่วยให้อุจจาระอ่อนตัวจำนวนครั้งในการขับถ่ายและปริมาณอุจจาระเพิ่มขึ้นลดอาการท้องผูกด้วย




ที่มา  http://www.zoneza.com/view3317.htm & http://www.moe.go.th/moe/th/blog/view-blog.php?memberid=159&blogid=61

ย่านาง และ ลูกไต้ใบ ใช้แก้ไข้และลดความร้อน

 ย่านาง
ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Tiliacora triandra  (Colebr.) Diels

ชื่อสามัญ :   Bamboo grass

วงศ์ :   Menispermaceae

ชื่ออื่น :  จ้อยนาง (เชียงใหม่)  เถาย่านาง เถาวัลย์เขียว (กลาง) ยาดนาง (สุราษฎร์ธานี)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เถาเลื้อยพัน กิ่งอ่อนมีขนอ่อนปกคลุม เมื่อแก่แล้วผิวค่อนข้างเรียบ รากมีขนาดใหญ่ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกติดกับลำต้นแบบสลับ รูปร่างใบคล้ายรูปไข่หรือรูปไข่ขอบขนานปลายใบเรียว ฐานใบมน ขนาดใบยาว 5 - 10 ซม. กว้าง 2 - 4 ซม. ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 1 ซม. ดอกออกตามซอกโคนก้านใบเป็นช่องยาว 2 - 5 ซม. ช่อหนึ่ง ๆ มีดอกขนาดเล็กสีเหลือง 3 - 5 ดอก ดอกแยกเพศอยู่คนละต้นไม่มีกลีบดอก ผลรูปร่างกลมรีขนาดเล็ก สีเขียว เมื่อแก่กลายเป็นสีเหลืองอมแดงและกลายเป็นสีดำ
ส่วนที่ใช้ :  รากแห้ง

สรรพคุณ :

    รากแห้ง -  แก้ไข้ทุกชนิด

วิธีและปริมาณที่ใช้ :
          ใช้รากแห้งครั้งละ 1 กำมือ (15 กรัม) ต้มกับน้ำ ดื่มก่อนอาหาร วันละ 3 ครั้ง

สารเคมี :
          รากมี isoquinolone alkaloid ได้แก่ tilacorine, tiacorinine, nortiliacorinine A, tiliacotinine 2 - N - Oxide, และ tiliandrine, tetraandrine, D - isochondrodendrine (isoberberine)





 ลูกไต้ใบ

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   phyllanthus amarus  Schum & Thonn.

ชื่อสามัญ :   Egg Woman

วงศ์ :   Euphorbiaceae

ชื่ออื่น :  มะขามป้อมดิน  หญ้าใต้ใบ  หญ้าใต้ใบขาว

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก สูง 10 - 60 เซนติเมตร ทุกส่วนมีรสขม ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียวปลายคี่ มีใบย่อย 23 - 25 ใบ ใบย่อยรูปขอบขนานแกมไข่กลับ ปลายใบมนกว้างโคนใบมนแคบ ขนาดประมาณ 0.40 X 1.00 เซนติเมตร ก้านใบสั้นมากและมีหูใบสีขาวนวลรูปสามเหลี่ยมปลายแหลมเกาะติด 2 อัน ดอกแยกเพศ เพศเมียมักอยู่ส่วนโคน เพศผู้มักอยู่ส่วนปลายก้านใบ ดอกขนาดเล็กสีขาว เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.08 เซนติเมตร ผลทรงกลมผิวเรียบสีเขียวอ่อนนวล ขนาดประมาณ 0.15 เซนติเมตร เกาะติดอยู่ที่ใต้โคนใบย่อย เมื่อแก่จะแตกเป็น 6 พู แต่ละพูจะมี 1 เมล็ด เมล็ดสีน้ำตาลรูปเสี้ยว 1/6 ของทรงกลม ขนาดประมาณ 0.10 เซนติเมตร
ส่วนที่ใช้ :  ทั้งต้นสด
สรรพคุณ :
         เป็นยาแก้ไข้ ลดความร้อน ขับปัสสาวะ

วิธีและปริมาณที่ใช้ :
           นำต้นสด 1 กำมือ ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 ½ ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละครึ่งถ้วยแก้ว

สารเคมี :  Potassium, phyllanthin, hypophyllanthin



ที่มา   http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_09_14.htm

กาหลงลดความดันโลหิต

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Bauhinia acuminata  L.

วงศ์ :   Leguminosae - Caesalpinioideae

ชื่ออื่น :  กาแจ๊ะกูโด (มลายู-นราธิวาส); กาหลง (ภาคกลาง); โยธิกา (นครศรีธรรมราช); ส้มเสี้ยว (ภาคกลาง); เสี้ยวน้อย (เชียงใหม่)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 1-3 เมตร กิ่งอ่อนมีขนทั่วไป กิ่งแก่ค่อนข้างเกลี้ยง ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่หรือเกือบกลม กว้าง 9-13 ซม. ยาว 10-14 ซม. ปลายเว้าลงมาสู่เส้นกลางใบลึกเกือบครึ่งแผ่นใบ ทำให้ปลายแฉกทั้ง 2 ข้างแหลม โคนรูปหัวใจ ขอบเรียบ เส้นใบออกจากโคนใบ 9-10 เส้น ปลายเส้นกลางใบมีติ่งเล็กแหลม แผ่นใบด้านบนเกลี้ยง ด้านล่างมีขนเล็กละเอียด ก้านใบยาว 3-4 ซม. มีขนหูใบเรียวแหลม ยาวประมาณ 1 ซม. ร่วงง่าย มีแท่งรยางค์เล็กๆ อยู่ระหว่างหูใบ ช่อดอกแบบช่อกระจะสั้นๆ ออกตรงข้ามกับใบที่อยู่ตอนปลายกิ่ง มี 3-10 ดอก ก้านดอกยาว 0.5-1.5 ซม. โคนก้านดอกมีใบประดับขนาดเล็ก 2-3 ใบ รูปสามเหลี่ยมเรียวแหลม ดอกตูมรูปกระสวย ยาว 2.5-4 ซม. ดอกบาน เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5-8 ซม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ติดกันคล้ายกาบกว้าง 1-1.8 ซม. ยาว 2.5-4 ซม. ปลายเรียวแหลมและแยกเป็นพู่เส้นสั้นๆ 5 เส้น กลีบดอก 5 กลีบ สีขาว รูปรีหรือรูปไข่กลับ มักมีขนาดไม่เท่ากัน ปลายมน โคนสอบ กว้างประมาณ 2 ซม. ยาว 4-6 ซม. เกสรเพศผู้ 10 อัน ก้านชูอับเรณูแต่ละอันยาวไม่เท่ากัน มีตั้งแต่ 1.5-2.5 ซม. อับเรณูสีเหลือง รูปขอบขนาน ยาว 3-5 มม. ก้านชูเกสรเพศเมียยาวประมาณ 1 ซม. รับไข่รูปขอบขนาน ยาว 6-8 มม. ก้านเกสรเพศเมียยาว 1-2 ซม. ยอดเกสรเพศเมียเป็นแผ่นกลม ฝักแบน คล้ายรูปขอบขนาน กว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 9-15 ซม. ปลายและโคนฝักสอบแหลม ปลายฝักมีติ่งแหลม ยาวประมาณ 8 มม. ขอบฝักเป็นสันหนา มี 5-10 เมล็ด เมล็ดเล็ก คล้ายรูปขอบขนาน
ส่วนที่ใช้ :  ดอก
สรรพคุณ :

    ดอก
    - รับประทาน แก้ปวดศีรษะ
    - ลดความดันของโลหิตที่ขึ้นสูง
    - แก้เลือดออกตามไรฟัน
    - แก้เสมหะพิการ









ที่มา  http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_16.htm

มะพร้าว


 
มะพร้าว Cocos nucifera Linn. Palmae
ชื่อสามัญ COCONUT
ส่วนที่ใช้เป็นยา น้ำมันจากเนื้อมะพร้าวห้าว มีรสมัน ขนาดและวิธีใช้ ใช้เนื้อมะพร้าวห้าว เตรียมเป็นน้ำมันมะพร้าว (น้ำมันมะพร้าวเก่า ๆ จะเหม็นหืน ไม่น่าใช้) น้ำมันมะพร้าว 1 ส่วน ผสมกับน้ำปูนใส 1 ส่วน วิธีเตรียมยา นำน้ำมันมะพร้าวใส่ภาชนะ เติมน้ำปูนใสทีละน้อยคนให้เข้ากัน เติมและคนไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งหมดน้ำปูนใส จะได้ ยาเตรียมที่เข้ากัน ใช้ทาแผลที่เป็นบ่อย ๆ สรรพคุณ รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ข้อเสนอแนะ ไม่ควรใช้สมุนไพรนี้กับแผลที่มีขนาดใหญ่ และแผลที่หนังแท้หรือเนื้อถูกทำลาย เพราะแผลที่ใหญ่และลึกอาจติดเชื้อได้ง่าย
มะพร้าวมีประโยชน์อย่างไรบ้าง 
    
คนไทยคุ้นเคยกับมะพร้าวมาเป็นเวลานาน และใช้ประโยชน์จากทุกส่วนของมะพร้าว เช่น ผลอ่อนใช้รับประทานสด (น้ำและเนื้อ) เนื้อมะพร้า วจากผลแก่นำไปปรุงอาหารและขนมหลายชนิด และใช้สกัดน้ำมัน กากที่เหลือใช้เลี้ยงสัตว์ น้ำมันมะพร้าวใช้ประกอบอาหาร เนยเทียม แล ะสบู่ เปลือกมะพร้าวนำไปแยกเอาเส้นใยใช้ทำเชือก วัสดุทำเบาะและที่นอน ขุยมะพร้าวใช้ทำวัสดุเพาะชำต้นไม้ กะลาใช้ทำภาชนะ ตักตวงของเหลว (กระจ่า กระบวย ฯลฯ) ทำกระดุม เครื่องประดับ เครื่องดนตรี (ซออู้) ทำเชื้อเพลิง และถ่านกัมมันต์ (มีคุณสมบัติในการด ูดซับสูง) ใบมะพร้าวทั้งอ่อนและแก่ ตลอดจนก้านใบใช้มุงหลังคา เครื่องจักสาร ไม้กวาดทางมะพร้าว ใช้ทำรั้วและเชื้อเพลิง ลำต้นแก่ใช้ในการก่อสร้างประดิษฐ์เครื่องเรือน ยอดอ่อนใช้เป็นอาหาร จั่น (ช่อดอก) มีน้ำหวานรองมาดื่มเป็นน้ำผลไม้หรือทำน้ำตาล หมักท ำเหล้าและน้ำส้น รากใช้ทำยา สีย้อมผ้า และเชื้อเพลิง แต่อย่างไรก็ตามการปลูกมะพร้าวโดยทั่วไปก็เพื่อนำเอาเนื้อมะพร้า วไปประกอบอาหารและสกัดเอาน้ำมันเช่นเดียวกับปาล์ม

มะพร้าว พืชพรรณที่พบเห็นได้ทั่วไป ตามพื้นที่ชายทะเลทุกแห่งในประเทศไทย รวมทั้งได้ถูกกำหนดให้เป็นสัญลักษณะประจำมหาวิทยาลัยบูรพา
มะพร้าวเป็นพืชที่มีความผูกพันกับ วัฒนธรรมความเป็นอยู่ของคนไทยมาช้านาน คุณสมบัติที่ดีของมะพร้าว คือส่วนต่างๆ ของมะพร้าวสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า และสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ หลากหลาย ตั้งแต่ ลำต้น ใบ ก้าน ผล กะลา รกมะพร้าว กาบมะพร้าว รากมะพร้าว
มะพร้าวเป็นพืชที่นิยมบริโภคในประเทศไทย เป็นอย่างมาก นิยมนำมาทำอาหาร ทั้งคาวหวาน นอกจากนั้น ยังสามารถนำมาทำอุตสาหกรรมน้ำมันมะพร้าว อุตสาหกรรมกะทิเข้มข้น มะพร้าวขูดแห้ง น้ำตาลมะพร้าว และอุตสาหกรรมอื่นๆ เกี่ยวกับส่วนต่างๆ ของมะพร้าว เช่น เส้นใย ฯลฯ
ปัจจุบันคนไทยนิยมทานยอดมะพร้าวเป็นอาหารมากขึ้น เนื่องจากยอดมะพร้าวนำมาทำเป็นอาหารมากขึ้น เนื่องจากยอดมะพร้าวนำมาทำเป็นอาหาร ยำ ผัด แกง ฯลฯ โดยเฉพาะต้มยำกุ้งยอดมะพร้าว เป็นเมนูยอดนิยม ซึ่งยอดมะพร้าวเป็นอาหารชนิดหนึ่ง ที่ปลอดสารพิษ และเพิ่มเส้นใยอาหารได้ดี
สถาบันศิลปะและวัฒนธรรมฯ เห็นคุณค่าของมะพร้าวที่มีต่อวิถีชีวิตมนุษย์มายืนยาว จึงนำเสนอมะพร้าว รวมทั้งรวบรวมงานฝีมือต่างๆ ที่ใช้มะพร้าวเป็นองค์ประกอบ


ประโยชน์ทางยา
ส่วนที่ใช้เป็นยา คือเปลือกต้น เนื้อ น้ำมะพร้าว น้ำมัน กะลา ดอก ราก กาบ
สรรพคุณในตำรายาไทย
เปลือกต้นสด แก้เจ็บปวดฟัน และใช้ทาแก้หิด
เนื้อมะพร้าว รับประทานเป็นยาบำรุงกำลัง ขับปัสสาวะ ขับพยาธิ แก้ไข้ กระหายน้ำ
น้ำมะพร้าว รสหวานเค็ม รับประทานเป็นยาระบาย แก้ท้องเสีย ขับปัสสาวะ แก้พิษ แก้กระหายน้ำ แก้นิ่ว แก้อาเจียนเป็นโลหิตและบวมน้ำ นอกจากนี้ยังทำเป็นน้ำส้มสายชูใช้ประโยชน์อื่น ๆ อีกมาก
น้ำมันมะพร้าว รสหวานเค็ม รับประทานเป็นยาบำรุงกำลัง หรือทาเป็นยาแก้กลากเกลื้อน บำรุงหัวใจ แก้โรคผิวหนังต่างๆ ทาแผลน้ำร้อนลวก ทาผิวหนังแตกแห้ง และใช้ทาผม
กะลา เป็นยาแก้ท้องเสีย แก้ปวดกระดูกและเอ็น
ดอก รสฝาดหวานหอม เป็นยาแก้เจ็บปากเจ็บคอ แก้ท้องเสีย แก้ไข้ แก้ร้อนใน กระหายน้ำ กล่อมเสมหะ บำรุงโลหิต แก้ปากเปื่อย
ราก รสฝาดหวานหอม เป็นยาแก้ท้องเสีย ขับปัสสาวะ หรืออมบ้วนปากแก้เจ็บคอ
ขนาดและวิธีใช้
้แก้ปวดฟัน ใช้เปลือกต้นสด เผาไหม้ให้เป็นเถ้า นำมาสีฟัน
แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด ใช้กะลามะพร้าวสะอาดเผาไฟจนแดงเอาคีมคีบเก็บไว้ในปีบสะอาด และปิดฝาจะได้ถ่านกะลาสีดำ เอามาบดเป็นผงรับประทาฯ ใช้คราวละ 1-2 ช้อนโต๊ะ
รักษาแผลเป็น เอามะพร้าวก้นกะลาขูดออกมาแล้วบีบเอาน้ำมันได้เท่าไร เอาไปเคี่ยวจนสุกแล้วทิ้งไว้ให้เย็น เอายอกมะลิ กลั้นใจเด็ด 7 ยอด โขลกให้ละเอียด ผสมน้ำมันมะพร้าวที่เคี่ยวแล้ว ทาทุกวันแผลเป็นจะหาย





ที่มา   http://www.angelfire.com/hero/t_coconut/page2x3.htm

มหัศจรรย์น้ำมันมะพร้าว

สะเดา

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Azadirachta indica A. Juss. var. siamensis  Valeton

ชื่อสามัญ : Siamese neem tree, Nim , Margosa, Quinine

วงศ์ :   Meliaceae

ชื่ออื่น :  สะเลียม (ภาคเหนือ)  กะเดา (ภาคใต้)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 5-10 เมตร เปลือกต้นแตกเป็นร่องลึกตามยาว ยอดอ่อนสีน้ำตาลแดง ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับรูปใบหอก กว้าง 3-4 ซม. ยาว 4-8 ซม. โคนใบมนไม่เท่ากัน ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย แผ่นใบเรียบ สีเขียวเป็นมัน ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งขณะแตกใบอ่อน ดอกสีขาวนวล กลีบเลี้ยงมี 5 แฉก โคนติดกัน กลีบดอกโคนติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก ผล รูปทรงรี ขนาด 0.8 - 1 ซม. ผิวเรียบ ผลอ่อนสีเขียว สุกเป็นสีเหลืองส้ม เมล็ดเดี่ยว รูปรี 
ส่วนที่ใช้ : ดอกช่อดอก  ขนอ่อน ยอด เปลือก ก้านใบ กระพี้ ยาง แก่น ราก ใบ ผล ต้น เปลือกราก น้ำมันจากเมล็ด

สรรพคุณ :
 ดอก ยอดอ่อน  -  แก้พิษโลหิต กำเดา แก้ริดสีดวงในลำคอ คันดุจมีตัวไต่อยู่ บำรุงธาตุ ขับลม ใช้เป็นอาหารผักได้ดี
ขนอ่อน - ถ่ายพยาธิ แก้ริดสีดวง แก้ปัสสาวะพิการ
เปลือกต้น - แก้ไข้ เจริญอาหาร แก้ท้องเดิน บิดมูกเลือด
ก้านใบ - แก้ไข้ ทำยารักษาไข้มาลาเรีย
กระพี้ - แก้ถุงน้ำดีอักเสบ
ยาง - ดับพิษร้อน
แก่น - แก้อาเจียน ขับเสมหะ
ราก - แก้โรคผิวหนัง แก้เสมหะ ซึ่งเกาะแน่นอยู่ในทรวงอก
ใบ,ผล - ใช้เป็นยาฆ่าแมลง บำรุงธาตุ
ผล มีสารรสขม - ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ และยาระบาย แก้โรคหัวใจเดินผิดปกติ
เปลือกราก - เป็นยาฝาดสมาน แก้ไข้ ทำให้อาเจียน แก้โรคผิวหนัง
น้ำมันจากเมล็ด - ใช้รักษาโรคผิวหนัง และยาฆ่าแมลง
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
เป็นยาขมเจริญอาหาร
ช่อดอกไม่จำกัด ลวกน้ำร้อน จิ้มน้ำปลาหวาน หรือน้ำพริก หรือใช้เปลือกสด ประมาณ 1 ฝ่ามือ ต้มน้ำ 2 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละ 1/2 ถ้วยแก้ว
ใช้เป็นยาฆ่าแมลง
สะเดาให้สารสกัดชื่อ Azadirachin ใช้ฆ่าแมลงโดยสูตร สะเดาสด 4 กิโลกรัม ข่าแก่ 4 กิโลกรัม  ตะไคร้หอม 4 กิโลกรัม นำแต่ละอย่างมาบดหรือตำให้ละเอียด หมักกับน้ำ 20 ลิตร 1 คืน น้ำน้ำยาที่กรองได้มา 1 ลิตร ผสมน้ำ 200 ลิตร ใช้ฉีดฆ่าแมลงในสวนผลไม้ และสวนผักได้ดี โดยไม่มีพิษและอันตราย






สารเคมี :
          ผล   มีสารขมชื่อ bakayanin
          ช่อดอก  มีสารพวกไกลโคไซด์ ชื่อ nimbasterin 0.005% และน้ำมันหอมระเหยที่มีรสเผ็ดจัดอยู่ 0.5%  นอกนั้นพบ  nimbecetin, nimbesterol, กรดไขมัน และสารที่มีรสขม
          เมล็ด  มีน้ำมันขมชื่อ margosic acid 45% หรือบางที่เรียก Nim Oil และสารขมชื่อ nimbin, nimbidin
          Nim Oil  มี nimbidin  เป็นส่วนมากและเป็นตัวออกฤทธิ์มีกำมะถันอยู่ด้วย



ที่มา http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_09_15.htm

บอระเพ็ด

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Tinospora crispa  (L.) Miers ex Hook.f.& Thomson

วงศ์ :   Menispermaceae

ชื่ออื่น :  ตัวเจตมูลยาน เถาหัวด้วน (สระบุรี) หางหนู (สระบุรี,อุบลราชธานี) จุ่งจิง เครือเขาฮอ (ภาคเหนือ) เจตมูลหนาม (หนองคาย)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้เถาเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น เถากลมมีขนาดใหญ่เป็นปุ่มปม สีเทาอมดำ มีรสขม เปลือกลอกออกได้ ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปหัวใจ ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ก้านใบยาว 8-10 ซม. ดอก ออกตามซอกใบ ดอกแยกเพศอยู่คนละช่อ ดอกสีเขียวอมเหลือง มีขนาดเล็กมาก ผล รูปทรงค่อนข้างกลม สีเหลืองหรือสีแดง
ส่วนที่ใช้ : ราก ต้น ใบ ดอก ผล ส่วนทั้ง 5  เถาสด


ราก 
- แก้ไข้เหนือ ไข้สันนิบาต แก้ไข้พิษ ไข้จับสั่น
- ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้
- เจริญอาหาร
ต้น
- แก้ไข้ แก้ไข้พิษ แก้ไข้กาฬ แก้ไข้เหนือ
- บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ
- แก้อาการแทรกซ้อน ขณะที่เป็นไข้ทรพิษ
- แก้ไข้เพื่อโลหิต แก้เลือดพิการ
- แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้สะอึก แก้พิษฝีดาษ
- เป็นยาขมเจริญอาหาร
- เป็นยาอายุวัฒนะ
ใบ
- แก้ไข้ แก้ไข้พิษ แก้ไข้กาฬ แก้ไข้จับสั่น
- ขับพยาธิ แก้ปวดฝี
- บำรุงธาตุ
- ยาลดความร้อน
- ทำให้ผิวพรรณผ่องใส หน้าตาสดชื่น
- รักษาโรคผิวหนัง ผดผื่นคันตามร่างกาย
- ช่วยให้เสียงไพเราะ
- แก้โลหิตคั่งในสมอง
- เป็นยาอายุวัฒนะ
ดอก
- ฆ่าพยาธิในท้อง ในฟัน ในหู
ผล
- แก้เสมหะเป็นพิษ แก้ไข้พิษ
- แก้สะอึก และสมุฎฐานกำเริบ
ส่วนทั้ง 5
บำบัดรักษาโรค ดังนี้
- เป็นยาอายุวัฒนะ แก้ปวดเมื่อย แก้ไข้ปวดศีรษะ รักษาฟัน รักษาโรคริดสีดวงทวาร ช่วยให้เจริญอาหาร แก้ฝีมดลูก ฝีมุตกิต แก้ร้อนใน รักษาโรคเบาหวาน ลดความร้อน แก้ดีพิการ แก้เสมหะ เลือดลม แก้ไข้จับสั่น
วิธีการและปริมาณที่ใช้ :
          ใช้เป็นยารักษาอาการดังนี้
อาการไข้ ลดความร้อน
- ใช้เถาแก่สด  หรือต้นสด ครั้งละ 2 คืบครึ่ง (30-40 กรัม) ตำคั้นเอาน้ำดื่ม หรือต้มกับน้ำโดยใช้ น้ำ 3 ส่วน ต้มเคี่ยวให้เหลือ 1 ส่วน ดื่มวันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหารเช้า-เย็น หรือเวลามีอาการ
- หรือใช้เถาสด ดองเหล้า ความแรง 1 ใน 10 รับประทานครั้งละ 1 ช้อนชา ของยาที่เตรียมแล้ว
เป็นยาขมช่วยเจริญอาหาร เมื่อมีอาการเบื่ออาหาร
โดยใช่ขนาดและวิธีการเช่นเดียวกับใช้แก้ไข้
สารเคมี : ประกอบด้วยแคลคาลอยด์หลายชนิด  เช่น Picroretine, berberine นอกจากนี้ยังประกอบด้วย  colonbin, tintotuberide, N - trans - feruloyltyramine, N - cisferuloytyramine, phytosterol, methylpentose





ที่มา  http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_09_4.htm