บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ประกอบการเรียนในรายวิชาอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน และขอขอบคุณผู้ที่เข้ามาร่วมชมบล็อกทุกท่านค่ะ

วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ชุมเห็ดเทศ





ชื่อวิทยาศาสตร์ :    Cassia alata ( L.) Roxb.

ชื่อสามัญ :   Ringworm Bush

วงศ์ :    Leguminosae

ชื่ออื่น :  ขี้คาก ลับมีนหลวง หมากกะลิงเทศ ชุมเห็ดใหญ่

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้พุ่ม สูง 1-3 เมตร แตกกิ่งออกด้านข้างในแนวขนานกับพื้น ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยรูปขอบขนานรูปวงรีแกมขอบขนาน หรือรูปไข่กลับ กว้าง 3-7 ซ.ม. ยาว 6-15 ซ.ม. หนูใบเป็นรูปสามเหลี่ยม ดอกช่อ ออกที่ซอกใบตอนปลายกิ่งกลีบดอกสีเหลืองทองใบประดับสีน้ำตาลแกมเหลือง หุ้มดอกย่อยเห็นชัดเจน ผลเป็นฝัก มี 4 ครีบ เมล็ดแบน รูปสามเหลี่ยม

ส่วนที่ใช้ : ใบสดหรือแห้ง เมล็ดแห้ง ดอกสดของต้นขนาดกลาง ไม่แก่หรืออ่อนเกินไป
สรรพคุณ :

    ใบสด  -  รักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน ฝีและแผลพุพอง
    ดอก, ใบสดหรือแห้ง - เป็นยาระบาย ยาถ่าย ถ่ายพยาธิลำไส้

    เมล็ด  -  ขับพยาธิ เป็นยาระบายอ่อน

วิธีและปริมาณที่ใช้ :
          ใบและดอกชุมเห็ดใช้เป็นยารักษาโรคและอาการดังนี้

    เป็นยาระบาย ยาถ่าย แก้อาการท้องผูก
    ใช้ดอกชุมเห็ดเทศสด 1-3 ช่อดอก (หรือแล้วแต่คนที่ธาตุเบาธาตุหนัก ช่อดอกใหญ่หรือเล็ก) ต้มรับประทานจิ้มกับน้ำพริก หรือ ใช้ใบสด 8-12 ใบ ล้างให้สะอาด หั่นตากแห้ง หรือปิ้งไฟให้เหลือง หั่น ใช้ต้มหรือชงน้ำดื่ม ครั้งละ 1 ถ้วยแก้ว เติมเกลือเล็กน้อย ดื่มให้หมด
    หรือใช้ใบแห้งบดเป็นผง ปั้นกับน้ำผึ้งเป็นลูกกลอนขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย รับประทานครั้งละ 3 เม็ด ก่อนนอน หรือเมื่อมีอาการท้องผูก
    หรือ ใช้เมล็ด คั่วให้เหลือง ชงน้ำดื่มเป็นน้ำชา เป็นยาระบายอ่อนๆ

    เป็นยารักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน
    ใช้ใบสด 3-4 ใบย่อย ขยี้หรือตำในครกให้ละเอียด เติมเกลือเล็กน้อย หรือใช้ใบชุมเห็ดเทศกับหัวกระเทียมปริมาณเท่ากัน ผสมปูนแดงที่กินกับหมากนิดหน่อย ตำผสมกันทาบริเวณที่เป็นกลาก หรือโรคผิวหนัง โดยเอาผิวไม้ไผ่ขูดบริเวณที่เป็นกลากเบาๆ แล้วทายาวันละ 2 ครั้ง เช้าเย็นจนกว่าจะหาย หายแล้วทาต่ออีก 7 วัน

    รักษาฝีและแผลพุพอง
    ใช้ใบชุมเห็ดเทศ และก้านสด 1 กำมือ ต้มกับน้ำพอท่วมยาแล้วเคี่ยวให้เหลือ 1 ใน 3 ชะล้างบริเวณที่เป็นวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ถ้าเป็นมากให้ใช้ประมาณ 10 กำมือ ต้มอาบ

สารเคมี : ใบ พบ anthraquinone เช่น aloe-emodin, chrysophanol, sennoside, flavonoids, terpenoids, iso-chrysophanol, physcion glycoside, kaempferol, chrysophanic acid, lectin, sitosterols, rhein


ที่มา   http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_05_3.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น