บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ประกอบการเรียนในรายวิชาอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน และขอขอบคุณผู้ที่เข้ามาร่วมชมบล็อกทุกท่านค่ะ

วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สรรพคุณของฉัตรทอง

ฉัตรทอง


ชื่ออื่น ๆ : จวกขุ่ยฮวย (จีน-แต้จิ๋ว)

ชื่อสามัญ : Hollyhock

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Althaea rosea Cav.

วงศ์ : MALVACEAE

ลักษณะทั่วไป :

ต้น : เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก มีลำต้นตั้งตรง ตามลำต้นจะมีขนอ่อนปกคลุมอยู่ ลำต้นมีสีเขียวสูงประมาณ 2.5 เมตร

ใบ : ออกใบเดี่ยว สลับกันไปตามลำต้น ใบมีสีเขียวลักษณะของใบคล้ายรูปดาว แต่ตรงโคนใบจะเว้าแบบรูปหัวใจ ขนาดของใบกว้างประมาณ 2-4 นิ้วยาว 2.5-4 นิ้ว มีก้านใบกลม สีเขียวยาวประมาณ 1.5-3.5 นิ้ว

ดอก : ออกดอกเดี่ยว อยู่ตามง่ามใบ ลักษณะของดอกเป็นรูปถ้วย มีกลีบดอกอยู่ 5 กลีบเรียงซ้อน ๆ กันมีสีชมพู สีแดง และสีขาว เกสรกลางดอกเป็นสีเหลือง มีกลีบเลี้ยงสีเขียวเป็นรูปถ้วยเช่นกัน โคนกลีบเลี้ยงจะเชื่อมติดกัน แต่ส่วนปลายกลีบเลี้ยงนั้นแยกออกเป็น 5 กลีบ

ผล : ลักษณะของผลกลมและแบน ภายในผลจะมีเมล็ดเป็นรูปไตอยู่จำนวนมาก ผลโตประมาณ 1-1.5 นิ้ว
การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ชอบแสงแดดจัดทั้งวัน และเจริญได้ดีในดินที่ร่วนซุย ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด

ส่วนที่ใช้ : ยอดอ่อน ใบ ดอก ราก และเมล็ด

สรรพคุณ : ยอดอ่อนและใบ ถ้าเป็นแผลฝีหนอง หนองใน แผลอักเสบให้นำยอดอ่อนหรือใบมาต้มกับน้ำกิน จะใช้ใบสดหรือแห้งก็ได้ หรือเผาให้เป็นเถาแล้วนำมาบดกินเป็นผงก็ได้ จะใช้อยู่ประมาณ 6-20 กรัมดอก ใช้เป็นยาแก้ไข้ แก้บิด อาเจียนเป็นเลือด ขับปัสสาวะอุจจาระ ตกเลือด ตกขาว พอกแผลบวม และแก้โรคหัดให้เก็บดอกที่บานเต็มที่แล้วจะใช้สด หรือแห้งก็ได้ โดยการนำมาต้มกินหรือบดเป็นผงกิน แต่ถ้าแผลบวมให้นำมาตำหรือบดเป็นผงทา หรือพอกบริเวณนั้นราก ใช้เป็นยาดูดหนอง แก้หนองใน อาเจียนเป็นเลือดแผลบวม แผลในลำไส้ แผลไฟลวก ตกเลือด ตกขาว ขับปัสสาวะ หรือปัสสาวะมีเลือด ให้นำรากสด ๆ ประมาณ 30-60 กรัมถ้าใช้ทาภายนอกก็ตำแล้วพอก
แต่ถ้ากินก็เอาต้มกับน้ำหรือทำเป็นเม็ด หรือบดเป็นผงกินก็ได้ เมล็ด ใช้ทำเป็นยาแก้โรคหนองใน หล่อลื่นลำไส้ แผลหิด ท้องผูก ขับปัสสาวะ โดยการนำเมล็ดมาต้มกิน
หรือบดเป็นผงกิน เมล็ดนี้จะต้องเอามากผลที่แก่แล้วแกะเอาเมล็ดมาตากแห้งเสียก่อน

ข้อห้ามใช้ : สตรีที่กำลังตั้งครรภ์ห้ามรับประทาน

ตำรับยา : 1. บิด ถ่ายเป็นเลือด นำยอดที่อ่อนมาต้มกินกับน้ำ โดยใช้ปิ้งกับไฟพอเหลืองใช้ ประมาณ 6-18 กรัม

2. ปัสสาวะเป็นเลือด นำเถาจากยอดอ่อนมาผสมกับเหล้ารับประทาน แต่ต้องกินทีละน้อย ๆ และวันละ 2 ครั้ง

3. เด็กที่ปากเป็นแผลอักเสบ ใช้ยอดอ่อนผสมกับน้ำผึ้งทาเช้า เย็น โดยการนำไปปิ้งไฟให้แห้งแล้วบดให้เป็นผงเสียก่อน

4. บวมน้ำ เป็นนิ่ว นำเมล็ดที่แก่และตากแห้งไว้แล้วบดเป็นผงผสมน้ำอุ่นรับประทานวันละ
2 ครั้ง โดยใช้รับประทานครั้งละ 6 กรัม เด็กที่มีอาการท้องผูกก็ทาได้แต่ต้องใช้ประมาณ 3-10 กรัม

5. แผลบวมอักเสบ ให้ใช้รากสด ๆ นำมาตำพอก แต่ถ้าท้องผูกให้ใช้ผสมกับเมล็ดของตังเกี้ยงไฉ่ ใช้อย่างละ 30 กรัมต้นผสมกับน้ำรับประทาน

6. แผลในลำไส้ นำรากแห้งประมาณ 3 กรัม มาต้มกับน้ำรับประทาน

7. อาเจียนเป็นเลือด หรือตกเลือด ให้นำรากสด 30 กรัม ต้มน้ำรับประทาน หรือคั้นเอาน้ำของรากผสมเหล้ารับประทานก็ได้ แต่ต้องใช้ 60 กรัม

8. ปัสสาวะมากผิดปกติ นำรากสดมาแล้วล้างให้สะอาดทุบให้แตกใส่น้ำต้มให้เดือดจนเข้มข้น แล้วรินน้ำรับประทาน

9. ใบหน้าเป็นฝ้าหรือมีรอยย่น ใช้ดอกสดบดให้ละเอียดผสมรังผึ้งสดทาก่อนนอนทุกคืน

10. แผลน้ำร้อนลวก หรือแผลไฟลวก ให้ใช้ดอกสดผสมน้ำมันพืชพอกบริเวณนั้น แต่ต้องตำดอกให้ละเอียดก่อน

11. ตกขาว ให้ใช้ดอกสดประมาณ 150 กรัม ผึ่งให้แห้งในที่ร่มแล้วนำมาบดเป็นผงผสมกับน้ำผึ้งทาน แต่ก่อนทานต้องดื่มเหล้าก่อน 1 ถ้วยชา

12. ปัสสาวะขัด และท้องผูก ให้ใช้ดอกสดประมาณ 30 กรัมผสมชะมดเชียง 1.5 กรัมกับน้ำอีกหนึ่งแก้วต้มรับประทาน

13. มีไข้ ใช้ดอกสดผึ่งให้แห้ง แล้วบดเป็นผงผสมน้ำรับประทาน ข้อมูลทางเภสัชวิทยา : รากของต้นนั้นมีสารเมือกอยู่เป็นจำนวนมาก ถ้าอายุ 1 ปีสารเมือกนี้จะประกอบด้วย น้ำตาล pentose 7.78%, uronic acid 20.04%, pentosans 6.86%, methylpentosana 10.59%,
ซึ่งสารเมือกนี้จะใช้เป็นยาช่วยลดอาการระคายเคือง เป็นยาหล่อลื่น ใช้พอกแก้ผิวหนังอักเสบ และยังมีสารที่พบอยู่ในเมล็ดด้วยคือ น้ำมัน 11.9% ซึ่งประกอบด้วย oleic acid 34.88%, ดอกมีผลึกเป็นสารสีเหลือง มีจุดหลอมเหลวที่ 261ฐC ซึ่งสารนี้อาจเป็น dibenzoyl carbinol
จะเป็นสารผสมของ kaempferol ดอกที่เป็นสีขาวแยกได้ dihydrokaempferol

หมายเหตุ : ดอกนอกจากจะเป็นยาแก้ไข้จับสั่น ปัสสาวะเป็นเลือด ช่วยการไหลเวียนเลือดดีขึ้น ทำให้ชุ่มชื่น และช่วยหล่อลื่นแล้วยังเป็นสารสีแดง ที่ใช้เป็นตชะเอมเทศ ความกรดด่างได้อีกด้วย รากและเมล็ดใช้เป็นยาบำรุงธาตุ แก้ไข้ ลดไข้ ช่วยในการคลอดบุตร และตำพอกแผลเรื้อรัง


ที่มา  http://www.samunpri.com/herbs/?p=320

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น