บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ประกอบการเรียนในรายวิชาอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน และขอขอบคุณผู้ที่เข้ามาร่วมชมบล็อกทุกท่านค่ะ

วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ชะอม สมุนไพรไทย


ชะอม

ชื่ออื่น ๆ : ผักหละ, ผักละ, ผักล่า, ผักห้า (ภาคเหนือ), ชะอม (ไทยภาคกลาง), ผักข่า (ร้อยเอ็ด),โพะซุยโด่ะ

ชื่อสามัญ : -

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acacia Insuavis, Lace

วงศ์ : MIMOSEAE

ลักษณะทั่วไป :

ต้น : เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดย่อม ลำต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลมอยู่โดยทั่วไป และจะมีกลิ่นเหม็นเขียว

ใบ : ใบเป็นสีเขียว มีก้านใบจะแยกออกเป็นใบอยู่ 2 ทาง จะมีลักษณะคล้ายใบส้มป่อย หรือใบกระถิน นอกจากนี้ใบอ่อน ๆ จะมีกลิ่นฉุนคล้ายกลิ่นของลูกสตอหรือกระถินแต่จะมีกลิ่นฉุนกว่ามาก ใช้ใบหรือยอดอ่อน ๆ ชุบไข่แล้วทอดกินเป็นอาหารกับน้ำพริก

การขยายพันธุ์ : โดยการตอน หรือปักชำ

อีกหนึ่งผักดี ๆ ที่อยากจะแนะนำและจัดว่าเป็นสมุนไพรไทยอีกด้วยนั้นคือ ชะอม นั่นเองค่ะ และเราก็มาพร้อมกับสาระน่ารู้กันอีกเช่นเคยกับ สรรพคุณของชะอมและประโยชน์ของชะอม หลายคนที่ชอบกินน้ำพริกกระปิน่าจะชอบชะอมนะ ทำไมต้องชอบชะอมนั่นเหรอค่ะ ก็ไข่เจียวชะอมไงกินคู่กับน้ำพริกกะปิอร่อยมากมายเลยทีเดียวค่ะ แต่ สรรพคุณของชะอม และ ประโยชน์ของชะอม ยังไม่หมดแต่เพียงเท่านี้เพราะมีสรรพคุณเป็นสมุนไพรก็ช่วยให้เรื่องของการรักษาสุขภาพและรักษาโรคได้อีกด้วย นั้นเราอย่ารอช้ามาดู สรรพคุณของชะอม และ ประโยชน์ของชะอม กันเลยดีกว่าค่ะ
คุณค่าทางอาหารของชะอม

ยอดชะอมใบอ่อนมีรสจืดกลิ่นฉุน (กลิ่นหอมสุขุม) ช่วยลดความร้อนของร่างกายยอดชะอม 100 กรัมให้พลังงานกับสุขภาพ 57 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วยเส้นใย 5.7 กรัม แคลแซียม 58 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 80 มิลลิกรัม เหล็ก 4.1 มิลลิกรัม วิตามินเอ 10066 IU วิตามินบีหนึ่ง 0.05 มิลลิกรัมวิตามินบีสอง 0.25 มิลลิกรัม ในอาซิน 1.5 มิลลิกรัม วิตามินซี 58 มิลลิกรัม


ประโยชน์ของชะอม

ส่วนที่เป็นผักฤดูกาล "ยอดอ่อนใบอ่อน" เป็นไม้ที่ออกยอดทั้งปีแต่จะออกมากในฤดูฝน ชาวเหนือนิยมรับประทานยอดชะอมหน้าแล้งเพราะผักชะอมหน้าฝนจะมีรสเปรี้ยวกลิ่นฉุนบ้างครั้งทำให้ปวดท้อง การปรุงอาหารชะอมเป็นผักที่รับประทานได้ในทุกภาคของเมืองไทย วิธีการปรุงเป็นอาหารคือรับประทานเป็นผักจิ้มโดยการลวกหรือนึ่งให้สุกหรือใช้ยอดอ่อนใบอ่อนเด็ดเป็นชิ้นสั้น ๆแล้วชุบกับไข่ทอดรับประทาน ร่วมกับน้ำพริกกะปิชาวเหนือรับประทานร่วมกับ ส้มตำมะม่วง ตำส้มโอ นอกจากนี้ชาวเหนือและชาวอีสานยังนิยมนำไปปรุงเป็นแกงเชน ชาวอีสานมักนำไปแกงรวมกับปลา ไก่ เนื้อ กบ เขียด ต้มเป็นอ่อมหรือแกง แกงลาว และ แกงแค ของชาวเหนือเป็นต้น


สรรพคุณของชะอม

ใบอ่อนที่เรามักนำมาประกอบอาหารนั้นก็มีสรรพคุณช่วยลดความร้อนในร่างกาย รากแก้ท้องเฟ้อ ขับลมในลำไส้ มีวิตามินเอสูง เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ แต่สำหรับคุณแม่ที่เพิ่งมีลูกอ่อนนั้นไม่ควรกินชะอมเพราะจะทำให้น้ำนมแห้ง

- ราก แก้ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ่อ ขับลมในลำใส
- แก้ลิ้นอักเสบเป็นผื่นแดง


ที่มา  http://www.samunpri.com/herbs/?p=349

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น