บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ประกอบการเรียนในรายวิชาอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน และขอขอบคุณผู้ที่เข้ามาร่วมชมบล็อกทุกท่านค่ะ

วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ยารักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน



ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Crateva adansonii  DC. subsp. trifoliata (Roxb.) Jacobs

ชื่อสามัญ           :  Sacred Barnar, Caper Tree

วงศ์                     :  Capparaceae

ชื่ออื่น                  : ผักกุ่ม

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดกลาง สูง 6-10 ม. ใบประกอบแบบนิ้วมือ มีใบย่อย 3 ใบ ก้านใบประกอบยาว 7-9 ซม. ใบย่อยรูปรีหรือรูปไข่ กว้าง 4-6 ซม. ยาว 7.5-11 ซม. ปลายแหลมหรือเรียวแหลม โคนแหลมหรือสอบแคบ ขอบเรียบ ใบย่อยที่อยู่ด้านข้างโคนใบเบี้ยว แผ่นใบค่อนข้างหนา เส้นแขนงใบข้างละ 4-5 เส้น ก้านใบย่อยยาว 4-5 มม. ช่อดอกแบบช่อกระจะ ออกตามง่ามใบใกล้ปลายยอด ก้านดอกยาว 3-7 ซม. กลีบเลี้ยงรูปรี กว้าง 2-3 มม. ยาว 4-5 มม. เมื่อแห้งมักเป็นสีส้ม กลีบดอกสีขาวอมเขียวแล้วค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือชมพูอ่อน รูปรี กว้าง 0.8-1.5 ซม. ยาว 1.2-1.8 ซม. โคนกลีบเป็นเส้นคล้ายก้าน ยาว 3-7 มม. เกสรเพศผู้สีม่วง มี 15-22 อัน ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 4 ซม. ก้านชูเกสรเพศเมียยาวประมาณ 5 ซม. รังไข่ค่อนข้างกลมหรือรี มี 1 ช่อง ผลกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3.5 ซม. เปลือกมีจุดแต้มสีน้ำตาลอมแดง เมื่อแก่เปลือกเรียบ ก้านผลกว้าง 2-4 มม. ยาว 5-13 ซม. เมล็ดรูปคล้ายเกือกม้าหรือรูปไต กว้างประมาณ 2 มม. ยาวประมาณ 6 มม. ผิวเรียบ



สรรพคุณ :

              1. ใบ  -  ขับลม ฆ่าแม่พยาธิ เช่น พวกตะมอย และทาแก้เกลื้อนกลาก

              2. เปลือก - ร้อน ขับลม แก้นิ่ง แก้ปวดท้อง ลงท้อง คุมธาตุ

              3. กระพี้ - ทำให้ขี้หูแห้งออกมา

             4. แก่น - แก้ริดสีดวง ผอม เหลือง

             5. ราก - แก้มานกษัย อันเกิดแต่กองลม

             6. เปลือก - ใช้ทาภายนอก แก้โรคผิวหนัง





ชื่อวิทยาศาสตร์  :   Curcuma longa  L.

ชื่อสามัญ             :   Turmaric

วงศ์                      :   Zingiberaceae

ชื่ออื่น : ขมิ้น (ทั่วไป) ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว (เชียงใหม่) ขี้มิ้น หมิ้น (ภาคใต้)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 30-90 ซม. เหง้าใต้ดินรูปไข่มีแขนงรูปทรงกระบอกแตกออกด้านข้าง 2 ด้าน ตรงกันข้ามเนื้อในเหง้าสีเหลืองส้ม มีกลิ่นเฉพาะ ใบ เดี่ยว แทงออกมาเหง้าเรียงเป็นวงซ้อนทับกันรูปใบหอก กว้าง 12-15 ซม. ยาว 30-40 ซม. ดอก ช่อ แทงออกจากเหง้า แทรกขึ้นมาระหว่างก้านใบ รูปทรงกระบอก กลีบดอกสีเหลืองอ่อน ใบประดับสีเขียวอ่อนหรือสีนวล บานครั้งละ 3-4 ดอก ผล รูปกลมมี 3 พู

ส่วนที่ใช้ : เหง้าแก่สด และแห้ง

สรรพคุณ :

               1. เป็นยาภายใน
                         - แก้ท้องอืด
                         - แก้ท้องร่วง
                         - แก้โรคกระเพาะ

               2. เป็นยาภายนอก
                        - ทาแก้ผื่นคัน โรคผิวหนัง พุพอง
                        - ยารักษาชันนะตุและหนังศีรษะเป็นเม็ดผื่นคัน

วิธีและปริมาณที่ใช้

           1.เป็นยาภายใน  เหง้าแก่สดยาวประมาณ 2 นิ้ว เอามาขูดเปลือก ล้างน้ำให้สะอาด ตำให้ละเอียด เติมน้ำ คั้นเอาแต่น้ำ รับประทานครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3-4 ครั้ง

           2.เป็นยาภายนอก  เหง้าแก่แห้งไม่จำกัดจำนวน ป่นให้เป็นผงละเอียด ใช้ทาตามบริเวณที่เป็นเม็ดผื่นคัน โดยเฉพาะในเด็กนิยมใช้มาก





ชื่อวิทยาศาสตร์                  :   Phyllanthus acidus  (L.) Skeels

ชื่อสามัญ                             :   Star Gooseberry

วงศ์                                       :   Euphorbiaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงประมาณ 3 – 10 เมตร ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านสาขาบริเวณปลายยอด กิ่งก้านจะเปราะและแตกง่าย เปลือกต้นขรุขระสีเทาปนน้ำตาล ใบ เป็นใบรวม มีใบย่อยออกเรียงแบบสลับกันเป็น 2 แถว แต่ละก้านมีใบย่อย 20 – 30 คู่ ใบรูปขอบขนานกลมหรือค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนปลายใบแหลม ฐานใบกลมหรือมน ขอบใบเรียบ ดอก ออกเป็นช่อตามกิ่ง ดอกย่อยสีเหลืองอมน้ำตาลเรื่อๆ ผล เมื่ออ่อนสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือขาวแกมเหลือง เนื้อฉ่ำน้ำ เมล็ดรูปร่างกลม แข็ง สีน้ำตาลอ่อน 1 เมล็ด

ส่วนที่ใช้  :  ใบตัวผู้ ผลตัวเมีย รากตัวผู้


สรรพคุณ :

           1. ใบตัวผู้  -   แก้พิษคัน แก้พิษไข้หัว เหือด หัด สุกใส ดำแดง ปรุงในยาเขียว และใช้เป็นอาหารได้

           2.ผลตัวเมีย  - ใช้เป็นอาหารรับประทาน

          3.รากตัวผู้  -  แก้ไข้ แก้โรคผิวหนัง แก้ประดง แก้เม็ดผื่นคัน ขับน้ำเหลืองให้แห้ง

วิธีและปริมาณที่ใช้ : ใช้ใบตัวผู้ หรือรากตัวผู้ ต้มน้ำดื่ม


สารเคมี                1.  ผล  มี tannin, dextrose, levulose, sucrose, vitamin C
                              2. ราก  มี beta-amyrin, phyllanthol, tannin saponin, gallic acid




ที่มา : http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_02_9.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น