บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ประกอบการเรียนในรายวิชาอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน และขอขอบคุณผู้ที่เข้ามาร่วมชมบล็อกทุกท่านค่ะ

วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ตัวอย่าง พืชสมุนไพรพื้นบ้าน

โหระพา

ชื่ออื่น ๆ : ห่อกวยซวย, โหระพาไทย, ห่อวอซุ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ชื่อสามัญ : Common Basil, Sweet Basil
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ocimum basilicum Linn.
วงศ์ : LABIATAE
ลักษณะทั่วไป :
      ต้น : เป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นตั้งตรงมีความสูง 8-28 นิ้ว ลักษณะของลำต้น และกิ่งก้านเป็นเหลี่ยม แตกกิ่งก้านสาขามีมาก ผิวเปลือกลำต้นมีเป็นสีเขียวอมม่วง และมีขนปกคลุมทั้งลำต้นมีกลิ่นหอม

      ใบ : ใบออกเป็นใบเดี่ยว มีลักษณะเป็นรูปรียาว ปลายและโคนใบเรียวแหลม ริมขอบใบเรียบ หรือมีหยักเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-3.5 ซม. ยาวประมาณ 2-6 ซม. ใบมีสีเขียวเข้ม ก้านใบยาวประมาณ 0.7-2 ซม.
      ดอก : ดอกออกเป็นช่อ ชั้น ๆ คล้ายฉัตร ออกอยู่ตามบริเวณปลายยอด ลักษณะของดอกย่อยมีกลีบเลี้ยง เชื่อมติดกันเป็นหลอด ส่วนปลายแยกเป็น 5 กลีบ มีสีขาวหรือสีแดงเรื่อ กลีบดอกยาวประมาณ 9 มม.

      ผล : พอดอกร่วงโรยก็จะติดผล เป็นสีน้ำตาล ผลหนึ่งมีเมล็ด .4 เม็ด ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปกลมรี มีขนาดยาวประมาณ 2 มม.

      การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง นิยมปลูกทั่วไปในครัวเรือน ขึ้นได้ดีในดินเกือบทุกประเภท ขยายพันธุ์ด้วยการใช้เมล็ด

      ส่วนที่ใช้ : ลำต้น เมล็ด ราก

      สรรพคุณ : ลำต้น ใช้ลำต้นสด ประมาณ 6-10 กรัม นำมาต้มเอาน้ำ กินเป็นยาแก้ปวด แก้หวัด ปวดกระเพาะอาหาร ท้องเสีย จุกเสียดแน่นท้อง ทำให้เจริญอาหาร ขับเหงื่อ ขับเสมหะ ขับลม ปวดศีรษะ ปวดข้อ หนองใน หรือใช้ตำให้ละเอียด คั้นเอาน้ำทา หรือใช้พอกแผลฟกช้ำจากการหกล้ม หรือถูกกระทบกระแทก แผลที่เป็นหนองเรื้อรัง แก้พิษถูกงูกัด แมลงสัตว์กัดต่อย เป้นกลากเกลื้อน และใช้หยอดหูแก้ปวดหู เป็นต้น
      เมล็ด ใช้เมล็ดแห้ง นำมาต้มหรือแช่น้ำกิน เป็นยาระบาย หรือใช้แก้โรคตาแดงมีขี้ตามาก และต้อตา เป็นต้น

      ราก ใช้รากสดหรือรากแห้ง นำมาเผาไฟให้เป็นเถ้า บดให้ละเอียดใช้พอก บริเวณที่เป็นแผลเรื้อรัง แผลมีหนองในเด็ก

 กะเพรา

กะเพรา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Ocimum sanctum) เป็นไม้ล้มลุก แตกกิ่งก้านสาขา สูง 30 - 60 ซม. นิยมนำใบมาประกอบอาหารคือ ผัดกะเพรา กะเพรามี 3 พันธุ์ คือ กะเพราแดง กะเพราขาว และ กะเพราลูกผสมระหว่างกะเพราแดงและกะเพราขาว

กะเพรามีชื่อสามัญอื่นอีกคือ กอมก้อ (เชียงใหม่) กอมก้อดง (เชียงใหม่) กะเพราขน (กลาง) กะเพราขาว (กลาง) กะเพราแดง (กลาง) ห่อกวอซู (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) ห่อตูปลู (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) อิ่มคิมหลำ (เงี้ยว แม่ฮ่องสอน) และ อีตู่ไทย (ตะวันออกเฉียงเหนือ)
สรรพคุณกะเพรา

    ใบ บำรุงธาตุไฟธาตุ ขับลมแก้ปวดท้องอุจจาระ แก้ลมตานซาง แก้จุกเสียด แก้คลื่นเหียนอาเจียน และขับลม
    เมล็ด เมื่อนำไปแช่น้ำเมล็ดจะพองตัวเป็นเมือกขาว ใช้พอกบริเวณตา เมื่อตามีผง หรือฝุ่นละอองเข้า ผงหรือฝุ่นละอองนั้นก็จะออกมา ซึ่งจะไม่ทำให้ตาเรานั้นช้ำอีกด้วย
    ราก ใช้รากที่แห้งแล้ว ชงหรือต้มกับน้ำร้อนดื่ม แก้โรคธาตุพิการ[
    น้ำสกัดทั้งต้นมีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ สามารถรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ในใบมีฤทธิ์ขับน้ำดี ช่วยย่อยไขมันและลดอาการจุกเสียด

    ใบและกิ่งสดเมื่อนำมาสกัดน้ำมันหอมระเหยโดยการต้มกลั่น (hydrodistillation) ได้น้ำมันหอมระเหยร้อยละ 0.08-0.10 ซึ่งมีราคา 10,000 บาทต่อกิโลกรัม


 แมงลัก

 ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ocimum × citriodourum
ชื่อวงศ์ : LAMIACEAE
ชื่อท้องถิ่น :  แมงลัก นางลัก ผักอีตู่ ก้อมก้อข้าว มังลัก

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
 เป็นพืชล้มลุกในสกุลกะเพรา-โหระพา แมงลักมีใบเล็ก สีอ่อน บอบบาง ช้ำง่ายและเหี่ยวง่ายกว่า ชื่อสามัญเดิมเรียกกันว่า hoary basil (hoary แปลว่าผมหงอก) โดยนำมาจากลักษณะที่มีขนอ่อนสีขาวๆ บริเวณก้านใบและยอดอ่อน ต่อมาก็เปลี่ยนมาเรียกว่า lemon basil ตามลักษณะกลิ่นที่คล้ายส้ม-มะนาว ส่วนแมงลักศรแดงของไทยเรียกว่า thai lemon basil
แมงลักนำไปใช้ได้ทั้งใบและเมล็ด ใบมีกลิ่นฉุน ใช้ประกอบอาหารเช่นเดียวกับกระเพราและโหระพา ส่วนมากจะใช้รับประทานกับขนมจีน หรือใส่เครื่องแกงต่างๆ ส่วนเมล็ดแมงลักใช้ทำเป็นขนมอื่นๆ ได้ นอกจากนี้ เมล็ดแมงลักนำมาทำเป็นยาระบายและอาหารเสริมลดความอ้วนได้

สรรพคุณของใบแมงลัก

- ขับลมในลำไส้ อาหารไม่ย่อย อาการอึดอัด แน่นไม่สบายท้อง ให้นำต้นและใบแมงลักต้มน้ำดื่ม

- ขับเหงื่อ เมื่อมีอาการครั่นเนื้อครั่นตัวไม่ค่อยสบาย นำต้นและใบแมงลักต้มน้ำดื่ม

- บรรเทาอาการหวัด อาการคัดจมูก น้ำูกไหล หลอดลมอักเสบ ใช้ใบแมงลัก 1 กำมือล้างสะอาดโขลกคั้นน้ำดื่ม 1 ถ้วยตะไลบรรเทาอาการดังกล่าว สำหรับกรณีของหลอดลมอักเสบให้คั้นน้ำดื่ม 1 ถ้วยตะไล 3 เวลาเช้า-กลางวัน-เย็น

- บรรเทาอาการผื่นคัน พิษจากพืช พิษสัตว์กัดต่อยหรืออาการคันจากเชื้อรา ใช้ใบแมงลักสดโขลกพอกบริเวณที่มีอาการและเปลี่ยนยาบ่อย ๆ

- แก้ท้องร่วงท้องเสีย ใบแมงลักสัก 2 กำมือ ล้างสะอาด โขลกบีบคั้นน้ำดื่ม แก้ท้องร่วงได้

- เพิ่มน้ำนมแม่ ให้แม่ที่ให้นมลูกกินแกงเลียงหัวปลี ใส่ใบแมงลักและให้ลูกดูดหัวน้ำนมบ่อย ๆ เพิ่มการสร้างน้ำนมแม่
- บำรุงสายตา ใบแมงลักมีวิตามินเอสูง การกินใบแมงลักเป็นประจำช่วยบำรุงสายตา

- บำรุงเลือด แก้โลหิตจาง ใบแมงลักอุดมด้วยธาตุเหล็กช่วยบำรุงโลหิต

- เสริมสร้างกระดูก ใบแมงลักมีแคลเซียมสูงช่วยบำรุงกระดูก

- เป็นยาระบาย ใช้เมล็ดแก่ของแมงลักสัก 1 ช้อนชาแช่น้ำ 1 แก้ว ปล่อยให้พองตัวดีแล้วเติมน้ำตาลเล็กน้อยดื่มแก้ท้องผูก แนะนำให้ใช้กับหญิงตั้งครรภ์และแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมตนเองที่ไม่ต้องการภาวะท้องผูกเพราะเป็นการแก้ปัญหาแบบธรรมชาติ

- ใช้ลดความอ้วน เปลือกผล (ที่เรียกเมล็ดแมงลัก) มีสารเมือกซึ่งสามารถพองตัวในน้ำได้ 45 เท่า เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ชอบกินอาหารที่มีกาก ใช้ผลแมงลัก 1-2 ช้อนชาแช่น้ำ 1 แก้ว ทิ้งไว้จนพองตัวเต็มที่ กินก่อนมื้ออาหารครึ่งชั่วโมงดื่มน้ำตามช่วยให้กินอาหารได้น้อยลง ลดปริมาณพลังงานอาหารช่วยให้อุจจาระอ่อนตัวจำนวนครั้งในการขับถ่ายและปริมาณอุจจาระเพิ่มขึ้นลดอาการท้องผูกด้วย




ที่มา  http://www.zoneza.com/view3317.htm & http://www.moe.go.th/moe/th/blog/view-blog.php?memberid=159&blogid=61

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น